การให้ความรู้และรักษาศีลเพื่อสร้างบุญ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2550 หน้า 54
หน้าที่ 54 / 100

สรุปเนื้อหา

การสร้างบุญเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเน้นการให้อภัยซึ่งกันและกันไม่ให้เกิดความแค้นในใจ และการให้วิทยาทานในการแบ่งปันความรู้ที่มีต่อผู้อื่นอย่างมีจริยธรรม เพื่อให้ทุกคนมีความรู้และใช้ในการปฏิบัติธรรมอย่างเหมาะสม การรักษาศีล 5 เป็นพื้นฐานสำคัญในการสร้างบุญ ซึ่งรวมถึงการไม่ฆ่าสัตว์ และไม่ลักทรัพย์ โดยการปฏิบัติตนตามศีลนี้ จะส่งผลดีต่อชีวิตและมีอายุยืนยาว เนื้อหายังกล่าวถึงการไม่หวงแหนความรู้ ทั้งทางโลกและทางธรรม เพราะหากหวงจะส่งผลไม่ดีในชาติต่อไป และควรส่งเสริมการเผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์สาธารณะ.

หัวข้อประเด็น

-การให้อภัย
-วิทยาทาน
-ธรรมทาน
-การรักษาศีล
-การไม่ฆ่าสัตว์
-การไม่ลักทรัพย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ให้เป็นอโหสิกรรมซึ่งกันและกัน อย่าปล่อยให้ข้ามวัน และให้ตั้งใจไว้เลยว่า เราจะไม่มีความแค้นใดๆ ค้างอยู่ในใจ หากทำอย่างนี้ได้ ปีหน้าฟ้าใหม่จะสร้าง บุญอะไร ย่อมได้บุญเต็มที่ทุกอย่าง เพราะใจไม่มี รูรัวให้บุญตกหล่นแม้แต่นิดเดียว ๑.๓ ) วิทยาทาน คือ การให้ความรู้เป็นทาน โดยไม่หวงความรู้เลย บางคน เวลามีใครมาถามอะไร ก็ยินดีบอกให้ สอนให้ทุกอย่าง ไม่ปิดบัง แต่ต้องรอให้เขาเข้ามาถาม ก่อน ตนเองจึงค่อยบอก แต่ว่ายังมีการให้วิทยาทาน ในระดับที่ผู้ให้สามารถได้บุญมากยิ่งขึ้นไปกว่านี้อีก นั่นคือ เพียงได้รู้ว่าเขาขาดแคลนความรู้ตรงส่วนไหน ไม่ต้องรอให้มาถาม หาทางบอกให้เขาไปก่อนเลย โดยต้องทำให้นุ่มนวลเหมาะสมพอดีกับเขาด้วย จึง จะได้บุญเต็มที่ ๑.๔ ) ธรรมทาน คือ การให้ความรู้ทางด้าน ธรรมะเป็นทาน ความรู้ทางโลกที่เขาหวงกัน ก็เพราะว่าบางที เป็นเรื่องของผลประโยชน์ในการทำมาหากิน เช่น เทคโนโลยีต่างๆ เป็นต้น เพราะฉะนั้น เมื่อใครค้นคว้า ความรู้อะไรมาได้สักหน่อย เขาจะจดลิขสิทธิ์ให้ วุ่นวายไปหมด พวกหนึ่งจดลิขสิทธิ์เพราะหวงความรู้ กลัวใครจะขโมยไป แต่อีกพวกหนึ่งไม่ได้ ได้หวง แต่ จดลิขสิทธิ์เพื่อป้องกันการถูกผู้อื่นกล่าวหาว่าไป ละเมิดลิขสิทธิ์ นี่ก็เป็นเรื่องของความหวาดระแวง กันและกันในการทำมาหากิน แต่พระภิกษุส่วนมาก แม้ไม่มีใครหวงความรู้ ธรรมะ แต่บางครั้งในการจัดทำหนังสือธรรมะ ก็ต้อง มีการสงวนลิขสิทธิ์ตามกฎหมายเช่นกัน ไม่ใช่เพราะ หวงความรู้ แต่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันไม่ให้มีการ นำไปพิมพ์เพื่อค้าขายเอากำไรส่วนตัวเท่านั้น ซึ่งใน กรณีที่มีผู้ประสงค์จะพิมพ์แจกเพื่อเผยแพร่ธรรมะ ทั่วไป ก็สามารถขออนุญาตเจ้าของผลงานนั้นๆ ได้ มีเรื่องราวปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่า ฤาษี บางท่านฝึกสมาธิจนเหาะได้ แต่แปลกตรงที่บางท่าน เหาะได้เฉพาะในร่มเงาไม้ที่ท่านนั่งสมาธิเท่านั้น บางท่านก็เหาะได้เฉพาะบริเวณป่าที่ท่านอยู่ ในขณะ ที่ฤาษีบางท่านจะเหาะไปไหนก็ได้อย่างใจ ที่เป็น อย่างนี้ก็เพราะท่านหวงวิชา ถึงคราวที่ต้องสอน ท่าน จะสอนให้เฉพาะคน และสอนให้เฉพาะอย่าง เมื่อ ท่านให้เฉพาะคนเฉพาะอย่างแล้ว ฤทธิ์ของท่านจึง มีขอบเขตจํากัด หลวงพ่ออยากฝากพวกเราทุกคนว่า ทั้งความรู้ ทางโลกที่พวกเราอุตสาหะพากเพียรเรียนรู้สั่งสม อบรมกันมาอย่างดี และความรู้ทางธรรมที่ได้มาจาก พระเดชพระคุณหลวงปู่วัดปากน้ำ จากคุณครูไม่ใหญ่ จากคุณยายอาจารย์ หรือจากพระไตรปิฎกก็ตาม ลูกอย่าไปหวงความรู้เหล่านั้น หวงความรู้ทางโลก ภพต่อไปจะเป็นคนโง่ แต่ถ้าหวงความรู้ทางธรรม ภพชาติต่อไปจะมีฤทธิ์น้อย ระวังเรื่องนี้กันให้ดี บุญงบที่ ๒ บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล ในเบื้องต้นได้แก่ ศีล ๕ 0 ๒.๑) ศีลข้อที่ ๑ ไม่ฆ่าสัตว์ หากเราไม่เคยคิดฆ่าใครอีกทั้งสัตว์เล็กสัตว์ใหญ่ ก็ระวังอย่างดีเยี่ยม ไม่มีพลั้งเผลอ ถ้าทำได้อย่างนี้ อุบัติเหตุเภทภัยต่างๆ ก็จะไม่เกิดขึ้นกับเราแน่นอน ยกเว้นว่าเราจะมีวิบากกรรมฆ่าสัตว์ข้ามชาติมา ศีล ข้อนี้เป็นเหตุแห่งความมีอายุยืน การให้ข้าวปลา อาหารเป็นทาน การปล่อยสัตว์ปล่อยปลาให้ชีวิตเป็น ทาน ก็เป็นเหตุให้อายุยืนเช่นกัน ๒.๒) ศีลข้อที่ ๒ ไม่ลักทรัพย์ นอกจากจะไม่ลักทรัพย์ผู้อื่นแล้ว ต้องสำรวจ ตัวเองเพิ่มอีกด้วยว่า เรายังมีนิสัยเอาเปรียบใครอยู่ ไหม ถ้าหากเข้าหุ้นส่วนทำการค้าหรือร่วมทำธุรกิจ กับใครแล้ว เอาเปรียบเขาไปหมด ถ้าอย่างนี้ถือว่า ศีลข้อที่ ๒ ไม่บริสุทธิ์ การเอาเปรียบมีอยู่หลายลักษณะ เช่น ไป ทำงานสายแต่เลิกงานก่อนเวลา นั่นก็เอาเปรียบ นายจ้าง หรือเป็นนายจ้างไม่ให้ลูกน้องเลิกงานตาม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More