ความแตกต่างระหว่างการพูดและการเขียน วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2550 หน้า 81
หน้าที่ 81 / 100

สรุปเนื้อหา

การเขียนต้องการการกลั่นกรองและความใส่ใจมากกว่าการพูด คิดได้ทันทีแล้วพูดออกไป ใช้เวลาน้อยกว่า แต่การเขียนนั้นต้องผ่านการคิดและตรวจสอบอย่างรอบคอบ ซึ่งทำให้การสื่อสารผ่านตัวอักษรมีความแม่นยำมากขึ้น การอ่านจึงเป็นกิจกรรมที่มีคุณค่า เพราะนอกจากจะได้ความรู้จากผู้เขียนแล้วยังสามารถใช้เวลาในการคิดและพิจารณาได้ตามต้องการ ทำให้เราได้รับประสบการณ์และความคิดจากผู้ที่มีสติปัญญาระดับโลกผ่านตัวอักษร การอ่านเป็นกิจกรรมที่สามารถพัฒนาความรู้ และประสบการณ์ให้เราได้อย่างมหาศาล.

หัวข้อประเด็น

- การเขียนและการพูด
- ความแตกต่าง
- การถ่ายทอดความคิด
- คุณค่าของการอ่าน
- การพัฒนาความรู้

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เวลาเรียบเรียง ถ้าเป็นการพูดก็พูดได้ทันทีเลย คิดอะไรได้ก็พูดไป วกหน้าวนหลังบ้าง ก็ไม่เป็นไร แต่พอเป็นการเขียนจะต้องมีการลำดับความคิด มี การกลั่นกรองคัดเลือกใช้ถ้อยคำที่เหมาะสม เพราะ เรามีเวลาหยุดคิดมากกว่าเพื่อถ่ายทอดให้ตรงกับที่ ตัวเองต้องการสื่อออกไปให้มากที่สุด เขียนเสร็จก็ ตรวจเช็คได้อีกว่าประเด็นครบหรือยัง ตกหล่น อะไรไหม การเขียนจึงใช้เวลามากกว่าการพูด โดยสรุปคือ ข้อมูลที่ถูกถ่ายทอดเป็นตัวอักษร จะผ่านการกลั่นกรองพินิจพิจารณามาอย่าง ละเอียดรอบคอบมากกว่าข้อมูลจากการพูด ซึ่ง ตรงนี้คือความแตกต่างที่สำคัญ ถ้าเราฟังข่าวจากทีวี แม้เป็นข่าวที่เขาได้เขียนบทมาก่อน ถึงเวลาก็อ่าน ที่เขียนออกอากาศ ในด้านเนื้อหาถือว่าใกล้เคียง กับการอ่าน แต่ความละเมียดละไมในการ ไตร่ตรองพินิจพิจารณาของเราจะหย่อน เพราะเรา เป็นผู้รับข้อมูลโดยกึ่งเหมือนถูกบังคับ ลองคิดดู เวลาเราดูทีวี เราสามารถบอกเขาให้พูดช้าๆ หน่อย ให้แสดงช้าๆ หน่อยเพราะเราตามไม่ทัน ขอเวลา หยุดคิดก่อน ทำได้ไหม คำตอบคือ ทำไม่ได้ เรา ถูกบังคับให้รับข้อมูลเร็วช้าตามแต่เขาจะป้อนให้ แต่ถ้าเป็นการอ่านหนังสือนอกเหนือจาก ผู้ให้ข่าวสารแก่เราเขาจะได้ไตร่ตรองพินิจพิจารณา การเรียบเรียงข้อมูลอย่างดีแล้ว เราเองยังมีสิทธิ์ หยุดคิดได้ จะอ่านเร็วก็ได้ จะอ่านช้าก็ได้ อ่านไป แล้วเกิดข้อคิดมีไอเดียอะไรขึ้น เราจะหยุดอ่าน ชั่วคราวนั่งคิดตรึกตรองสัก ๑๐ นาทีก็ทำได้ มัน อยู่ที่เรา เราเป็นผู้กำหนดเกมส์เอง ดังนั้นข้อมูลที่ เราได้รับจะถูกย่อยอย่างดี และเป็นประโยชน์กับ ตัวเรามาก แม้หนังสือที่เป็นเรื่องแต่งที่เขียนได้ดี ก็มีแง่ คิดที่น่าสนใจเป็นประโยชน์ ยิ่งหนังสือที่ออกเป็น เชิงวิชาการ ผู้เขียนเขาต้องเค้นความสามารถและ สติปัญญาที่มีอยู่ทั้งหมดออกมาอย่างเต็มที่ กว่าจะ ได้หนังสือเล่มหนึ่งบางครั้งหมดเวลาไปหลายๆ ปี เลย ทีเดียว ต้องค้นคว้าหาข้อมูลไปขบคิดพิจารณา มากมาย กว่าจะกลั่นผลึกความคิดถ่ายทอดออกมา เป็นตัวอักษรเป็นเล่ม ยิ่งหนังสือดีๆ ที่ได้รับความนิยม ผู้เขียนมีสติปัญญามาก มีความสามารถมาก หนังสือ เล่มนั้นเสมือนการกลั่นเอาความคิดของสติปัญญา ระดับโลกรวมบรรจุอยู่ในนั้น ถ้าเราได้อ่านและได้ ไตร่ตรองให้ดี ก็จะเป็นการย่นเวลาให้ตัวเองอย่าง มหาศาลเลยทีเดียว แทนที่เราจะต้องมานั่งคิด ทุกอย่างทั้งหมดด้วยตัวเอง เราจะทำหน้าที่เป็น ผู้รับข้อมูล กลั่นกรองพิจารณาแล้วก็เลือกนำมาใช้ ในสิ่งที่ถูกต้อง เราจะได้ประสบการณ์อย่างเยี่ยม จากการอ่านหนังสือเหล่านี้ เราอ่านไปสิบเล่ม ก็ เท่ากับเราไปคว้าเอาสิ่งที่เป็นแก่นความคิดของผู้มี สติปัญญาระดับโลกสิบคนมา อ่านไปร้อยเล่มก็ เท่ากับไปเอาสติปัญญาของคนร้อยคนมา ยิ่งหาก เราสามารถวิเคราะห์ไตร่ตรองจนกระทั่งความรู้ เหล่านั้น ถูกหลอมรวมเข้ากับฐานข้อมูลเดิมในใจ ของเรา ตกผลึกเป็นข้อมูลหรือแนวทางที่เราใช้ใน การตัดสินใจในการทำสิ่งต่างๆ ต่อไปได้ เราจะได้ เปรียบมากเลย การอ่านจึงเป็นสิ่งที่ให้คุณค่ามหาศาล พวก เราจึงควรเริ่มอ่านกันเถิด อ่านหนังสือให้มากกว่านี้ อาตมภาพยังจำได้ สมัยเด็กๆ ความที่ที่บ้านเป็น นักอ่าน โยมพ่อก็ชอบอ่านหนังสือ โยมแม่ก็นักอ่าน พี่ๆ ทุกคนก็ได้ดูพ่อแม่เป็นตัวอย่างก็เป็นนักอ่าน เหมือนๆ กัน อาตมภาพก็เลยสนใจการอ่านตั้งแต่ ยังเล็ก เมื่อตอนยังเด็กอ่านหนังสือไม่ออกก็นอน หนุนตักคุณแม่ ฟังท่านเล่านิทานให้ฟัง เนื้อหาใน นิทานส่วนใหญ่เป็นคติธรรมทั้งนั้น เรื่องความ เคารพบ้าง ความกตัญญูบ้าง ความเสียสละบ้าง ที่มาจากหนังสือที่ท่านอ่าน ตัวเราก็รอว่าเมื่อไรเรา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More