การถือวัตรและการอยู่ธุดงค์ในพระพุทธศาสนา วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน ธันวาคม พ.ศ.2550 หน้า 31
หน้าที่ 31 / 100

สรุปเนื้อหา

การถือวัตรธุดงค์เป็นวิธีปฏิบัติที่ผู้ขอต้องเลือกสถานที่ที่เหมาะสม ทำให้ผู้ปฏิบัติสามารถตั้งใจเป็นพระอรหันต์ได้ ขณะอยู่ธุดงค์ ผู้ปฏิบัติจะมีความตั้งใจและมุ่งสู่ธรรม เพื่อเอาชนะกิเลสได้ การอยู่ธุดงค์เป็นประสบการณ์ที่ควรทำหลายครั้งในชีวิต เพื่อหลีกหนีจากความยั่วยุในสังคมและเพิ่มสมาธิสำหรับการปฏิบัติธรรม นอกจากนี้คุณลักษณะของพระมหากัสสปเถระที่เป็นเอตทัคคะด้านอยู่ธุดงค์ ยังเป็นต้นแบบของความเจริญทางธรรมที่หลายคนควรยึดถือ

หัวข้อประเด็น

-การถือวัตรธุดงค์
-ความสำคัญของการปฏิบัติธรรม
-ความบริสุทธิ์ในปฏิบัติธรรม
-บทบาทของพระมหากัสสปเถระ
-การต่อสู้กับกิเลสในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อย่างนั้นก็ใช้ได้ และผู้ขอถือวัตรขั้นต่ำ : จะไปถือวัตร อยู่ในที่ใกล้เคียงลักษณะของป่าช้า หรือที่ๆ ได้ชื่อว่า ป่าช้าก็ใช้ได้ ผู้อยู่ธุดงค์ คือ ผู้อยู่ในสายตาของชาวสวรรค์ การสมาทานข้อปฏิบัติธุดงค์ ๑๓ ข้อนี้ ไม่จำกัด ด้วยระยะเวลาเหมือนการรักษาศีล สามารถสมาทาน ได้เต็มที่เท่าที่ต้องการ นานจนกระทั่งถึงตลอดชีวิต ก็ได้ ซึ่งพระภิกษุในสมัยพุทธกาลมักนิยมปฏิบัติ ธุดงค์กันและปฏิบัติได้อย่างดีเยี่ยมโดยก่อนที่จะออก จาริกไปในสถานที่อื่น ท่านจะไปเข้าเฝ้าพระสัมมา สัมพุทธเจ้า เพื่อขอเรียนกรรมฐานจากพระพุทธองค์ จากนั้นจึงค่อยกราบลาออกเดินธุดงค์ ขณะที่พัก อาศัยแรมราตรีก็จะยึดการปฏิบัติธุดงค์ข้อใดข้อหนึ่ง อย่างเคร่งครัด ทำให้พระภิกษุในสมัยนั้น ต่างก็ บรรลุธรรมเป็นพระอรหันต์มากมายนับไม่ถ้วน ท่านพระมหากัสสปเถระ ชื่อว่าเป็นเอตทัคคะ คือ เลิศทางด้านอยู่ธุดงค์เป็นวัตร แม้ท่านจะมีบริวาร และมีญาติโยมอุปัฏฐากมากมาย แต่ท่านก็ไม่ยึดติด ในลาภสักการะ มีความมักน้อย สันโดษ ไม่สะสม เวลาจะไปไหนก็เหมือนนกน้อยบินไปในอากาศ มี ความอ่อนน้อมถ่อมตนเป็นปกติ ความบริสุทธิ์ของ ท่านนั้นแม้เทวดาก็อยากลงมาใส่บาตร บางครั้งก็มี เทวดามากวาดลานวัดให้ท่าน ขนาดพระอินทร์ยัง เคยแปลงเป็นคนแก่มาใส่บาตรก็มี เพราะรู้ว่าทำบุญ กับท่านแล้วได้บุญมาก แม้แต่พระบรมศาสดายัง ยกย่องท่านว่าเป็นผู้มีอริยวิหารธรรมเสมอกับพระองค์ อยู่ธุดงค์ เพื่อมุ่งตรงสู่สุดธรรม การอยู่ธุดงค์สำหรับฆราวาสไม่ใช่เพียงครั้งหนึ่ง ในชีวิต แต่ชีวิตหนึ่งควรได้อยู่ธุดงค์หลายๆ ครั้ง ถ้า อยากจะรบกับกิเลสให้จริงจัง ก็ต้องให้โอกาสตัวเอง มาถือธุดงค์กัน เพราะในสมัยปัจจุบันต่างก็มีสิ่งยั่วยุ มากมาย ทำให้ใจเต็มไปด้วยความทะยานอยาก และธรรมชาติของคนเราหากอยู่ที่บ้าน ก็จะอาศัย ความคุ้นเคยเหมือนปลาคุ้นน้ำ จนทำให้บางครั้ง อาจจะติดความสบายเกินไป เป็นเหตุให้นำใจรวม เป็นสมาธิได้ยาก นี่คือเหตุผลว่า ทำไมต้องปลีกตัว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More