พระไตรปิฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน วารสารอยู่ในบุญประจำเดือน กันยายน พ.ศ.2556 หน้า 57
หน้าที่ 57 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้นำเสนอเกี่ยวกับพระไตรปิฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบันที่มีการพัฒนาขึ้นเพื่อให้การศึกษาเกี่ยวกับพระธรรมสะดวกขึ้น โดยจัดทำโดยมูลนิธิธรรมกาย ร่วมกับสมาคมบาลี ปราณี ให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้อย่างง่ายดายผ่านโปรแกรมที่มีพจนานุกรมบาลี-อังกฤษ นอกจากนี้ BUDSIR ที่จัดทำโดยมหาวิทยาลัยมหิดล และ CSCD ที่พัฒนาขึ้นโดยสถาบันวิจัยวิบูลสนในอินเดีย ก็เป็นอีกสองตัวอย่างที่ให้การเข้าถึงพระไตรปิฎกในรูปแบบดิจิทัลที่หลากหลาย อาทิเช่น การแปลเนื้อหาเป็นตัวอักษรโรมัน หรือการใช้งานอักษรต่างๆ ในการศึกษา https://www.dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-พระไตรปิฎกดิจิทัล
-มูลนิธิธรรมกาย
-BUDSIR
-CSCD
-เทคโนโลยีกับพระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระไตรปิฎกฉบับอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน ปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าเทคโนโลยีจึงทำให้เรามีพระไตรปิฎกดิจิทัลใช้งานแพร่หลายอยู่หลายฉบับ อาทิเช่น 1. พระไตรปิฎกฉบับคอมพิวเตอร์ มูลนิธิธรรมกาย เป็นพระไตรปิฎกดิจิทัลที่เกิดขึ้นด้วยความร่วมมือระหว่างมูลนิธิธรรมกายและสมาคมบาลี ปราณีแห่งประเทศไทย โดยใช้พระไตรปิฎกบาลีและคัมภีร์อรรถาธิบาย ฉบับสมาคมบาลี ปราณีเป็นฐานข้อมูล ซึ่งผู้ใช้โปรแกรมสามารถสืบค้นคำศัพท์-วลีที่ต้องการ หรือสืบค้นจากชื่อเล่ม-หน้าได้โดยตรง นอกจากนี้โปรแกรมยังมีพจนานุกรมบาลี-อังกฤษไว้ในความสะดวกแก้ผู้ใช้ด้วย 2. BUDSIR - BUDdhist Scriptues Information Retrieval เป็นพระไตรปิฎกดิจิทัลที่สำนักคอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยมหิดลจัดทำขึ้น โดยใช้พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐมาเป็นฐานข้อมูล ต่อมาได้พัฒนาโปรแกรมให้สามารถแปลเนื้อหาเป็นตัวอักษรโรมัน และเผยแพร่เป็นซอฟต์แวร์จนถึงปัจจุบัน 3. CSCD - Chhattha Sangayana CD-ROM เป็นพระไตรปิฎกดิจิทัลที่สถาบันวิจัยวิบูลสนในประเทศอินเดียจัดทำขึ้น โดยใช้พระไตรปิฎกฉบับญี่ปุ่นฉบับตรงของพม่ามาจัดทำฐานข้อมูลเป็นซอฟต์แวร์ ผู้ใช้โปรแกรมสามารถแปลเนื้อความเป็นอักษรต่าง ๆ ได้ เช่น อักษรบาลี อักษรพม่า อักษรไทย อักษรลาว อักษรบัณฑิตฯ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More