ความสำคัญของอาหารในชีวิตสามัญ พุทธิปัญญากับการปรับสมดุลชีวิต หน้า 12
หน้าที่ 12 / 34

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจประเภทการอาหารและความสำคัญของอาหารต่อชีวิต โดยเฉพาะการเชื่อมโยงกับขันธ์ 5 อาหารไม่ได้มีเพียงแค่สิ่งที่รับประทาน แต่ยังหมายถึงสิ่งที่ทำให้ชีวิตสมดุล ทั้งด้านกายภาพและด้านนามธรรม ชีวิตที่ขาดอาหารจะไม่สมบูรณ์ นอกจากนี้ยังมีความสำคัญในด้านจิตใจและการฝึกความคิดเพื่อให้เกิดการพิจารณาและเป็นแนวทางในชีวิตที่ถูกต้อง เพื่อดำเนินชีวิตในความสมดุลและมีหลักการ.

หัวข้อประเด็น

-ประเภทของอาหาร
-ขันธ์ 5
-ความสำคัญของอารมณ์
-การดำเนินชีวิตอย่างสมดุล
-การพัฒนาปัญญา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อาหาร 4 คือ กวพิงการอาหาร ได้แก่ อาหารเป็นคำๆ หรืออาหารหยาบ เช่น ข้าว แกง ขนม เป็นต้น ผักผลาหาร ได้แก่ ความรู้สึกที่เกิดจากการสัมผัสหรือรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสทั้ง 5 เช่น ความรู้สึกสุข ทุกข์ เป็นต้น มโนสัญเจตนาอาหาร ได้แก่ ความจงใจหรือเจตนา ที่แสดงออกมาเป็นความต้องการในเรื่องต่างๆ วิญญาณอาหาร ได้แก่ ความรับรู้เรื่องราวต่างๆ ตามรูป เวทนา สัญญา สังขาร และวิญญาณเองทำหน้าที่ อาหารในส่วนที่เป็นวัตถุที่ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงและเสริมสร้างรูปหรือส่วนที่เป็นวัตถุ อาหารที่เป็นนามหรืออสังขา ก็ทำหน้าที่หล่อเลี้ยงและเสริมสร้างชีวิตในส่วนที่เป็นนามหรืออสังขา ชีวิตจึงจำเป็นต่ออาหารอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ หากขาดอาหารอย่างใดไป ก็จะส่งผลให้ชีวิตเป็นชีวิตที่ไม่สมบูรณ์ เรียกได้ว่าชีวิต ขาดสมดุล อยู่ในสภาวะที่ดำเนินไปด้วยดีไม่ได้ โดยปกติธรรมชาติชีวิตของชาวโลกดำเนินไปด้วยพลังขับเคลื่อนแห่งกิเลส กรรม วิบาก ซึ่งมีผลให้เกิดความผิดพลาดได้ง่าย แต่ชีวิตที่ได้รับการฝึกฝนให้เกิดความสมดุลในชีวิต ย่อมดำเนินไปด้วยปัญญา จะดำเนินไปได้ตรงทาง เกิดความผิดพลาดได้ยาก สรูปได้ว่า องค์รวมของชีวิตคือ องค์รวมของขันธ์ 5 ที่ดำเนินไป รูปขันธ์แสดงภาวะกิจกรรมทางกายภาพ เวทนาขันธ์แสดงความรู้สึกสุข ทุกข์หรือเฉยๆ สัญญาขันธ์แสดงภาคจำสิ่งที่เก็บไว้ สังขารขันธ์แสดงภาคขยายเพิ่มเติมต่อไปเบื้องหน้า วิญญาณขันธ์แสดงภาครับรู้ตาม อายตนะ ขันธ์ทั้ง 5 นี้อาศัยอาหารหล่อเลี้ยงดำเนินไปได้ ผลของการดำเนินชีวิตมีทั้งที่เป็นบวกและเป็นลบทางบวกเรียกว่า “กุศล” ทางลบ เรียกว่า “อกุศล” ชีวิตจะดำเนินไปอย่างถูกต้องต้องอาศัยการพิจารณาใคร่ครวญให้ดี อาศัยาญาณมิตร อาศัยการปฏิบัติธรรมสมควรแก่ธรรม และอาศัยปัญญาในการนำทางในชีวิตจึงควรปรับปรุง แก้ไข
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More