หลักการทำสมาธิที่แท้จริง วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน  พฤศจิกายน พ.ศ.2553 หน้า 89
หน้าที่ 89 / 128

สรุปเนื้อหา

หลักการทำสมาธิมีเพียงหนึ่ง คือ การน้อมใจที่ชอบเที่ยว ชอบคิด กลับมาที่ศูนย์กลางกาย เพื่อหยุดนิ่ง อยู่ที่นั่น โดยมีวิธีการประมาณ 3-5 วิธีที่สำคัญ และอีก 30 กว่าวิธีที่ช่วยเสริม เป็นไปตามหลักพระพุทธศาสนา แนะนำให้ศึกษาอย่างจริงจังและปรึกษาอาจารย์ที่เชี่ยวชาญ หากเมื่อลองฝึกเต็มที่แล้วยังไม่ก้าวหน้า อาจพิจารณาเปลี่ยนสำนักในกรณีจริตไม่ตรงกัน แต่การเปลี่ยนต้องมีการฝึกที่จริงจัง โดยการประจำเพื่อช่วยให้สามารถเห็นผลลัพธ์ที่ดี ทั้งนี้ผู้ฝึกต้องย้ำเตือนตัวเองอยู่เสมอ เช่นเดียวกับพระสัมมาสัมพุทธเจ้าผู้ทรงมีความตั้งใจแน่วแน่หลังจากผ่านการฝึกมาหลายปีแล้ว จนถึงขั้นไม่ลุกขึ้นหากยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จึงควรตั้งใจจริงจังในการฝึกสมาธิต่อไป โดยตื่นเช้าและก่อนนอนฝึก 1 ชั่วโมง ทำอย่างนี้อย่างสม่ำเสมอ และไม่ปล่อยให้ผ่านวันไปโดยไม่ได้ฝึก

หัวข้อประเด็น

-การทำสมาธิ
-หลักการและวิธีการ
-ประสบการณ์การฝึก
-การเลือกสำนักฝึก
-การพัฒนาจิตร่วมกับพระอาจารย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

" หลักการของการทำสมาธิมีอย่างเดียว คือ การน้อมใจที่ชอบเที่ยว ชอบคิด ให้กลับมาติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ให้หยุดนิ่งอยู่ที่นั่น ไม่ให้เตลิดเปิดเปิงไปที่ไหน วิธีหลัก ๆ มีแค่ ๓ - ๕ วิธีเท่านั้น นอกนั้นอีก ๓๐ กว่าวิธี เป็นวิธีเสริมเพื่อปรับให้เหมาะกับ ๆ จริตของคนเท่านั้น และวิธีหลัก ๆ จะไปฝึกสำนักไหนก็ได้ ที่มีครูบาอาจารย์ดูแลอย่างจริงจัง วิธีที่ท่านนำมาสอนก็เป็นวิธีของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งนั้น ไม่ได้คิดเอาเอง ในเมื่อเป็นวิธีของ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แล้วอาจารย์ที่สอนก็มีประสบการณ์ในการสอนมานาน เราก็เข้าไปหาท่าน ไปตั้งใจฝึกกับท่านให้เต็มที่ก่อน หากว่าเราทำเต็มที่แล้วแต่ยังไม่ค่อยก้าวหน้าเท่าที่ควร จะลองเปลี่ยนไปสำนักอื่นบ้างก็ได้ ที่เปลี่ยนไม่ได้หมายความว่าอาจารย์ไม่ดี เพียงแต่ว่าจริตอัธยาศัยของเราคงไม่ตรงกับวิธีนั้น แต่ก่อน จะตัดสินว่าควรเปลี่ยนหรือไม่ควรเปลี่ยน ต้องทุ่มตัวเข้าไปฝึกเสียก่อน ถ้าเราเป็นคนเหยาะแหยะ เดี๋ยวก็ต้องเปลี่ยนไปหมดทุกสำนัก แล้วก็ยังเอาดีไม่ได้ โดยย่อ ๆ ให้จับหลักการให้ได้ว่า หลักการของการทำสมาธิมีอย่างเดียว คือ การน้อมใจที่ ชอบเที่ยว ชอบคิด ให้กลับมาติดอยู่ที่ศูนย์กลางกาย ให้หยุดนิ่งอยู่ที่นั่น ไม่ให้เตลิดเปิดเปิงไปที่ไหน ส่วนวิธีการถ้าไม่ได้ผิดไปจากคัมภีร์ในพระพุทธศาสนา ก็ฝึกไปเถอะ แล้วค่อย ๆ ปรับเอา เดี๋ยว ก็ได้ และถ้าจะให้ปลอดภัยสักหน่อย จะฝึกวิธีไหนก็ไปหาพระอาจารย์ที่ท่านชำนาญวิธีนั้น ๆ เดี๋ยวท่านก็มีคำแนะนำที่พอเหมาะพอสมให้เราเอง และด้วยความชำนาญของท่าน ท่านจะพบเอง ว่าเราเหมาะหรือไม่เหมาะกับวิธีที่ท่านถนัด ถ้าไม่เหมาะ เดี๋ยวท่านก็ส่งต่อไปสำนักอื่นที่ท่านเห็น ว่าน่าจะเหมาะกว่า เราก็ไปตามที่ท่านแนะนำ ยิ่งไปกว่านั้น ต้องเตือนตัวเองเสมอว่า ไม่ว่าจะไปทดลองฝึกที่ไหน ขอให้ตั้งใจฝึกจริง ๆ อย่าไปทำเป็นเล่น ให้นึกถึงคำพูดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสเอาไว้เมื่อวันจะตรัสรู้ให้ดี คือ หลัง จากที่พระองค์ทรงฝึกมาอย่างเต็มที่ 5 ปีเต็ม ๆ ผ่านสำนักต่าง ๆ มามากมาย ทรงมั่นใจว่าได้ ทดลองและมีประสบการณ์มาพอแล้ว เหลืออย่างเดียวคือการเอาจริงเท่านั้น พระองค์ทรงตั้งใจจริง พอประทับลงไปบนรัตนบัลลังก์ก็ทรงอธิษฐานเลยว่า แม้เลือดเนื้อในร่างกายจะแห้งเหือดหายไป เหลือแต่หนัง เอ็น กระดูกก็ตามที หากยังไม่บรรลุพระสัมมาสัมโพธิญาณ จะไม่ลุกขึ้น จะประทับ อยู่อย่างนี้ จะตายก็ให้ตายไปเถอะ เราก็มีสิทธิ์เปลี่ยนวิธีเหมือนกัน แต่ว่าก่อนจะเปลี่ยนให้ฝึกให้สุดความสามารถ เมื่อได้ หลักการเรียบร้อยแล้ว ต่อแต่นี้ไปให้ฝึกจริง ๆ จัง ๆ คงไม่ต้องถึงขนาดให้เนื้อเลือดแห้งเหือด หายไป จริงจังของเราในที่นี้ คือ อย่างน้อยตื่นเช้าขึ้นมาขอสักชั่วโมงหนึ่ง ก่อนนอนขออีกสักชั่วโมง หนึ่ง ในระหว่างวันที่ต้องทำมาหากิน ก็ประคองใจไว้ที่ศูนย์กลางกายให้ดี ให้รู้ตัวว่า ตอนนี้ใจหนี ไปเที่ยวแล้ว ก็ดึงกลับมาใหม่ รู้ตัวว่าไปอีกแล้ว ก็ดึงกลับมาใหม่อีก สู้กันอย่างนี้ ทำไปตามสมควร แต่เช้ากับกลางคืนอย่าให้พลาด ทำอย่างนี้อย่าให้เว้นแต่ละวัน เดี๋ยวก็เห็นหน้าเห็นหลังเอง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More