การสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน  พฤศจิกายน พ.ศ.2553 หน้า 91
หน้าที่ 91 / 128

สรุปเนื้อหา

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจในการเลือกคำพูดและการแสดงออก สิ่งสำคัญคือการเปิดใจผู้ฟังให้รับสารได้อย่างถูกต้อง โดยเน้นการใช้คำสุภาพและพูดในเรื่องที่มีประโยชน์ต่อทั้งตัวเองและผู้ฟัง ควรหลีกเลี่ยงการพูดเชิงอวดตัวหรือข่มคนอื่น เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีและเป็นประโยชน์ หัวใจสำคัญคือการพูดด้วยจิตเมตตา และมองถึงความต้องการของผู้ฟังในการสื่อสาร เพื่อให้เกิดการเข้าใจและประโยชน์สูงสุด รายละเอียดการสื่อสารที่มีคุณภาพและมีประสิทธิภาพนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเต็มที่.

หัวข้อประเด็น

-การสื่อสาร
-คำสุภาพ
-การพูดที่มีประโยชน์
-จิตเมตตา
-การสร้างความเข้าใจ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ทันโลกทันธรรม เข้าใจผิด ทำให้เขาโกรธและไม่ชอบเรา นั่นแสดงว่า ทั้ง ๆ ที่เราคิดว่าจะพูดเรื่องจริง เรื่องดี แต่เรา ยังไม่สามารถสื่อสารความจริงข้อนั้นไปถึงผู้ฟังได้ ดังนั้นถ้าคิดจะพูดอะไรก็ต้องฝึกตัวเองจนกระทั่ง สามารถสื่อสารเรื่องนั้นให้ผู้ฟังเข้าใจตรงตามที่เรา ต้องการได้ด้วย ข้อที่ ๒ ต้องพูดด้วยล่าสุภาพ คนทั่วไปมักจะคิดว่าเราก็พูดคำสุภาพอยู่แล้ว แต่เราต้องจับคอนเซ็ปต์ของคำว่า “สุภาพ” ให้ได้ ว่า ประเด็นหลักของคำสุภาพคือ จะต้องสามารถ เปิดใจผู้รับสารจากเราได้ ไม่ว่าเราจะพูดด้วยท่าที อย่างไร ถ้าเปิดใจเขาได้แสดงว่าสุภาพ ถ้าพูด เพราะเหมือนผู้ดีทุกอย่าง แต่ผู้ฟังไม่ชอบ รู้สึก หงุดหงิดหมั่นไส้ แสดงว่าคำพูดนั้นไม่ถือว่าสุภาพ คือ จะสุภาพหรือไม่สุภาพไม่ได้ถือตัวเราเป็นที่ตั้ง แต่ต้องถือผู้รับสาร ผู้ฟัง หรือผู้อ่านเป็นที่ตั้ง ถ้า เขารับสารจากเราแล้วใจเปิด แสดงว่าคำพูดที่เรา สื่อออกไปใช้ได้ ถือว่าเป็นคำสุภาพ เรื่องนี้ไม่ได้ เน้นเฉพาะคำพูดอย่างเดียว ท่าทีที่แสดงออกก็มี ความสำคัญ ทั้งอากัปกิริยาท่าทีทางกายของเรา ทั้งน้ำเสียงและถ้อยคำที่ใช้ เมื่อสื่อออกไปแล้วต้อง เปิดใจผู้ฟังได้ถึงจะถือว่าเป็นคำสุภาพ ข้อที่ ๓ เรื่องที่พูดเป็นเรื่องที่มีประโยชน์ เรื่องที่เราพูด แม้เป็นคำจริง สุภาพ แต่ถ้า ไม่มีประโยชน์พระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังตรัสว่าอย่า พูดเลย ให้พูดเฉพาะเรื่องที่เป็นประโยชน์เท่านั้น ตรงนี้ต้องไตร่ตรองให้ดีว่า พูดอะไรออกไปแล้ว เป็นประโยชน์หรือเปล่า พูดแล้วต้องเป็นประโยชน์ ทั้งแก่ตัวเราและผู้อื่น ไม่ใช่พูดเอาแต่ประโยชน์ เข้าตัวอย่างเดียว เรื่องเนื้อหาคำพูดมีประโยชน์หรือไม่นั้น พอ จะเข้าใจได้ไม่ยาก แต่ที่คนมักจะมองข้ามไปก็คือ เรื่องการพูดเชิงอวดตัว ข่มคนอื่น คือ พูดว่าตัวเอง เก่งอย่างนั้น ดีอย่างนี้ จนคนอื่นหมั่นไส้ ถ้าอย่างนี้ ถือว่าเป็นการพูดที่ไม่มีประโยชน์ทั้งต่อตัวเราและผู้ฟัง เพราะพูดไปแล้วแทนที่จะดี แทนที่เขาจะชื่นชม ยกย่อง เขากลับหมั่นไส้ พอเขาหมั่นไส้แล้ว อารมณ์ เขาก็เสีย ไม่มีประโยชน์ทั้ง ๒ ฝ่าย ฉะนั้นอย่าไปอวดตัว อย่าไปข่มใคร หรือ เสียดสีกระทบกระแทกใคร ให้พูดเรื่องที่มีประโยชน์ ต่อผู้ฟัง ไม่ใช่พูดเพื่อตอบสนองความต้องการจะ อวดตัวของตัวเอง ต้องมองที่ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้น ถ้าผู้ฟังรู้สึกว่า เรื่องนี้เขาฟังแล้วได้ประโยชน์ เป็น ความรู้ เป็นสาระ มีข้อคิด เขาก็จะมีอารมณ์อยาก ฟัง แล้วจะเกิดความรู้สึกที่ดี แต่ถ้าฟังแล้วไม่มี ประโยชน์ ผู้พูดก็เหนื่อยฟรี ผู้ฟังก็เสียประโยชน์ ข้อที่ ๔ พูดด้วยจิตเมตตา ข้อนี้ก็เช่นกัน อยากจะเน้นว่าให้เราพูดโดยไม่ ถือเอาตัวเราเป็นหลัก แต่ให้มองผู้รับสารเป็นหลัก คำว่าพูดด้วยจิตเมตตา เราอาจจะคิดว่า เราเมตตา แล้วถึงได้เตือน แต่ถ้าขี้เมากำลังกินสุรา เมาอยู่ กลางวง เราไปเตือนเข้าเดี๋ยวก็เกิดเรื่อง จะถือว่า เรามีจิตเมตตาแล้วพูดออกไปเลย แค่นี้ไม่พอ การ พูดด้วยจิตเมตตาต้องเข้าใจความคิดของผู้ที่รับสาร จากเราก่อน คือต้องเอาใจเขามาใส่ใจเรา ตอนที่ เขาพูด เราต้องฟังให้ดี ระหว่างที่เราพูดก็ต้อง สังเกตสีหน้าท่าทางเขาให้ดี ไม่ได้คิดแต่เพียงว่า เรา
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More