การสื่อสารด้วยจิตเมตตาและถูกกาลเทศะ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน  พฤศจิกายน พ.ศ.2553 หน้า 92
หน้าที่ 92 / 128

สรุปเนื้อหา

การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพควรใช้หลักการพูดอย่างใส่ใจ ทั้งในเรื่องความจริง คำสุภาพ เนื้อหาที่มีประโยชน์ จิตเมตตา และการเลือกเวลาให้ถูกต้อง เช่น เมื่อพระพุทธเจ้าพบกับองคุลิมาล การพูดของพระองค์มีเหตุผลที่ลึกซึ้ง หลักการทั้ง 5 ข้อทำให้การสื่อสารสามารถเปิดใจองคุลิมาลได้ การพูดจึงไม่ใช่แค่คำพูด แต่เป็นการทำให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจและเปลี่ยนแปลงได้จริง

หัวข้อประเด็น

- การพูดด้วยจิตเมตตา
- หลักการพูดที่มีประสิทธิภาพ
- ความสำคัญของการเลือกเวลา
- กรณีศึกษา: พระสัมมาสัมพุทธเจ้ากับองคุลิมาล
- เทคนิคการสื่อสารที่มีประโยชน์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

อยากพูดอะไรก็พูด และเวลาเขาพูดมา เราก็อย่า ฟังแค่คำพูด ต้องสังเกตด้วยว่า เขาพูดอย่างนี้แสดง ว่าเขาคิดอะไร พอเข้าใจตรงนี้แล้ว เราจะสามารถ ใช้คำที่พอเหมาะพอดีพูดตอบไปได้ อย่างนี้ถึงจะ เรียกว่าพูดด้วยจิตเมตตา ระหว่างที่เราเป็นผู้พูด ก็ต้องไตร่ตรองหาถ้อยคำที่เหมาะสม พูดออกไป แล้วต้องสังเกตว่าปฏิกิริยาเขาเป็นอย่างไรบ้าง เดิม เราคิดว่าน่าจะโอเค พอพูดไปแล้วอาจไม่ใช่อย่าง ที่เราคิด ก็ปรับเนื้อหาและวิธีการพูดของเราให้ พอเหมาะพอดี ตรงกับใจของผู้ฟัง และยกใจเขา ให้สูงขึ้นได้ อย่างนี้ถึงจะเรียกว่าเป็นการพูดด้วย จิตเมตตา ข้อที่ ๕ พูดถูกกาลเทศะ เวลาจะพูดแต่ละเรื่องต้องสังเกตให้ดีว่าพูด ตอนไหนถึงจะดี เขากำลังยุ่งอยู่หรือเปล่า มีอารมณ์ จะฟังเรื่องนี้หรือเปล่า สังเกตเวลาและสถานที่ให้ดี ถ้าเขากำลังยุ่งก็อย่าไปกวนเขา เวลาจะโทรศัพท์ ถ้าดึกเกินไปก็ไม่โทร เช้าเกินไปก็ไม่โทร ถ้าเป็น นักธุรกิจเช้า ๆ มักจะงานยุ่ง บ่าย ๆ รับประทาน อาหารเสร็จ อารมณ์กำลังดี ร่างกายมีสารอาหาร ไปหล่อเลี้ยง จิตก็ปลอดโปร่ง สมองก็โล่ง ๆ น้ำตาลในเลือดก็เพียงพอ ถ้าก่อนเที่ยงกำลังหิว มักคุยกันไม่ค่อยได้เรื่อง และต้องสังเกตด้วยว่า เรื่องไหนควรจะพูดตอนไหน แล้วถ้าได้เจอเขา ก็ ให้สังเกตดูอารมณ์ จังหวะ เวลา และสถานที่ให้ดี แล้วเราจะสามารถสื่อสารออกไปได้พอเหมาะพอดี ถ้าครบ ๕ ข้อ ใจเปิดแน่นอน ทั้งพูดเรื่อง จริง พูดด้วยคำสุภาพ พูดเรื่องมีประโยชน์ พูดด้วย จิตเมตตา และพูดถูกกาลเทศะ ครบ ๕ ข้อเมื่อไร ผลสำเร็จเกิดขึ้นทันที ดูตัวอย่างจากเรื่องของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่ไปโปรดองคุลิมาล มหาโจรที่ฆ่าคนมาเกือบพันคน เมื่อพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเจอกับองคุลิมาลครั้งแรก ๓ พระองค์ยังไม่ตรัสอะไร ได้แต่เสด็จไปเรื่อย ๆ องคุลิมาลก็ถือดาบไล่ฆ่าพระองค์ พระองค์เสด็จ ต่อไปเรื่อย ๆ สบาย ๆ แต่องคุลิมาลวิ่งตามสุดฝีเท้า ตามอยู่ ๓ โยชน์ คือ ๔๘ กิโลเมตร วิ่งจนหมดแรง ยังตามไม่ทัน เลยตะโกนบอกว่า “สมณะหยุดก่อน” พูดง่าย ๆ ว่าหยุดให้เราฆ่าหน่อย เราหมดแรง วิ่งตามท่านไม่ทันแล้ว พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ตถาคตหยุดแล้ว เธอยังไม่หยุด” องคุลิมาลสวน กลับมาว่า “พระอะไรโกหก เดินอยู่แท้ ๆ บอกว่า หยุดแล้ว” พระพุทธเจ้าตรัสตอบว่า “ตถาคตหยุด แล้วจากการปลงสัตว์จากชีวิต เธอล่ะเมื่อไรจะหยุด” สิ้นพระสุรเสียง องคุลีมาลทิ้งดาบจากมือ คุกเข่า กราบขอบวชเลย เราอาจจะนึกว่าทำไมง่ายอย่างนี้ นี้ก็คือ “พูดดี พูดโดน ง่ายกว่าที่คิด” มหาโจรฆ่าคนเป็นพัน ฟังไม่กี่คำเท่านั้นทิ้งดาบขอบวชเลย ทำไมง่ายอย่างนี้ แต่ถ้าสังเกตดูจะเห็นว่า คำพูดไม่กี่คำก็จริง แต่ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้หลักครบทั้ง ๕ ข้อ คือ สิ่งที่พระองค์ตรัสเป็นเรื่องจริง คำพูดที่สุภาพ เพราะสามารถเปิดใจองคุลิมาลได้ เข้าไปสว่าง กลางใจเหมือนสายฟ้าแลบแปลบเข้าไปเลย เรื่องที่ พูดก็มีประโยชน์อย่างยิ่งใหญ่ ทำให้องคุลิมาล หยุดทำบาปกรรม และพูดด้วยจิตเมตตาอย่างยิ่ง ข้อสุดท้ายนี้ประสานกับข้อกาลเทศะด้วย คือ ถ้า พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสสอนองคุลิมาลตั้งแต่ ตอนแรกที่พบกัน การสอนจะไม่ได้ผล แต่พระองค์ ทรงเข้าใจองคุลิมาลดีว่าเป็นคนที่ชอบวิชา ที่ยอมมา ฆ่าคนเป็นพันก็เพราะหวังจะได้วิชาจากอาจารย์ ฉะนั้นการที่พระองค์ใช้อิทธิปาฏิหาริย์เสด็จไป แล้ว องคุลิมาลต้องวิ่งตามอยู่ ๔๘ กิโลเมตร ระหว่างที่ วิ่งก็ต้องมีความคิดเกิดขึ้นมาเป็นชั่วโมง ๆ แล้วว่า พระรูปนี้ไม่ธรรมดา เราเองก็มีฝีมือมาก ฝีเท้าก็เร็ว
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More