ธรรมภาระและการปฏิบัติในพระพุทธศาสนา การศึกษาวิเคราะห์จตุษโกฏิประเภทยืนยันของพระนาคารชุนในคัมภีร์ มูลมัธยมกการิกา หน้า 27
หน้าที่ 27 / 31

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอแนวคิดเกี่ยวกับธรรมภาระในพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะการดำเนินการตามสำนักมัธยมซึ่งยืนยันถึงความไม่เป็นสภาวะของสรรพสิ่ง และการมีอยู่ของสิ่งต่างๆ ที่สัมพันธ์กันตามหลักปฏิจสมุปบาท การถกเถียงถึงความจริงเหล่านี้มากับการใช้ภาษาและเหตุผล แต่มีข้อจำกัดต่อการพิสูจน์ ดังนั้น พระพุทธเจ้าได้เน้นความสำคัญของการศึกษาและปฏิบัติเพื่อให้เกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง ซึ่งบางความรู้ไม่สามารถใช้อธิบายด้วยเหตุผลได้.

หัวข้อประเด็น

- แนวคิดมัธยม
- ปฏิจสมุปบาท
- ความไม่เป็นสภาวะ
- การปฏิบัติในพระพุทธศาสนา
- การศึกษาและประสบการณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ธรรมภาระ วาสนาวิชาการทางพระพุทธศาสนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (ฉบับรวมเล่มที่ 7) พ.ศ. 2561 เนื้อหาในศิลาที่ 18.8 ชี้ให้เห็นถึงการยืนยันความคิดเห็นบางประการของสำนักมัธยมว่า แต่ในขณะเดียวกันการปฏิเสธความเป็นสภาวะ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของสำนักนี้ก็ยังคงมามเป็นประเด็นได้เช่น เนื่องจาก “สุขทั้งเป็นจริงก็ไม่เป็นจริงก็ไม่ใช่” ยังคงอยู่บนพื้นฐานของแนวคิดเรื่องความไม่เป็นสภาวะของสรรพสิ่งด้วยเช่นกัน เนื่องจากความมีอยู่อของสรรพสิ่งตามแนวทางของสำนักมัธยมะอยู่ในลักษณะของการอิงอาศัยซึ่งกันและกัน หรือมีอยู่อย่างสัมพัทธ์สอดคล้องกับคำสอนของพระพุทธเจ้าของหลักปฏิจสมุปบาทดังได้อธิบายข้างต้น อย่างไรก็ดีตามการพิสูจน์ความจริงเหล่านี้ด้วยการถกเถียงกันด้วยภาษาธรรมชาติหรือการกล่าวกันด้วยเหตุผล ศักยภาพของเครื่องมือเหล่านี้อาจยังไม่เพียงพอและควรค่าต่อการเป็นเครื่องมือพิสูจน์ด้วยข้อจำกัดของภาษและเหตุผล พระพุทธเจ้าจึงเน้นให้เข้าไปศึกษา ด้วยการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดประสบการณ์ด้วยตนเอง เพราะความรู้บางอย่างเป็นปรากฏการณ์ที่มนุษย์พยายามสร้างหรือตสมตินำมาไม่สามารถนำมาอธิบายได้
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More