ชีวิตและธรรมชาติใต้ทะเลเกาะมุก Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 3 หน้า 12
หน้าที่ 12 / 49

สรุปเนื้อหา

เกาะมุก จังหวัดตรัง เป็นเกาะที่มีความงามแต่ก็มีความท้าทายจากการอยู่ในทะเลที่ห่างไกล ความสวยงามใต้ทะเลมีทั้งปลา กุ้ง หอย และปะการัง ในขณะเดียวกันการใช้ชีวิตของชาวบ้านที่เป็นชาวประมง ต้องเผชิญกับความยากลำบากในรายได้และการอยู่รอด การตกปลาของผู้ใหญ่บ้านที่มีชื่อเสียง เป็นตัวอย่างของชีวิตชนบทที่มีความเข้มแข็งท่ามกลางความงามของธรรมชาติ.

หัวข้อประเด็น

-ชีวิตใต้ทะเล
-เกาะมุก
-ประมงท้องถิ่น
-ความสวยงามของธรรมชาติ
-ความยากลำบากในการดำเนินชีวิต

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ขุนทหารทั้งห้าและพี่สาวทั้งสอง สุจิต วินิช วิชิต ปรีชา สุกัญญา ศักดิ์ชัย และสมโชค โลกใต้ทะเลลี้ลับ น่ากลัวสำหรับคนที่ไม่ได้เป็น นักประดาน้ำ แต่ชีวิตใต้ทะเลน่าสงสารมากกว่า น่ากลัว เพราะมันไม่อาจสลัดตัวเองให้หลุดพ้น จากร่างที่ถูกตีกรอบบังคับให้ต้องกลายเป็นปลา กุ้ง หอย ปู เต่า ม้าน้ำ ปะการังอ่อนหลากสีได้ ต้องว่ายวนอยู่ในมหาสมุทรยาวนาน เหมือนคน ติดตะรางแบบหนึ่ง ส่วนคนที่เคยดำน้ำลึกมาแล้ว ชื่นชมว่าใต้ทะเลสวยงามนักหนา โดยหารู้ไม่ว่า สิ่งที่สวยที่สุดนั้นมีอยู่แล้วในตนเอง เกาะมุก เกาะใหญ่อันดับ 3 ของจังหวัดตรัง มีทั้งแหลม อ่าวและมีหาดทรายขาว น้ำทะเลสีฟ้าใสราวกระจก คลื่นซัด ฝั่ง หน้าผาสีปูนสีเย็นนวลตา ลมพัดอ่อนๆ ทิวมะพร้าวไหว โอนเอน โขดผาสูงตระหง่าน ถ้ำมรกต หมู่บ้านชาวประมง รังนกนางแอ่น ล้วนเป็นภาพโรแมนติกของคนที่ชอบทะเลตรัง แต่คนที่อยู่แถบนี้ มันหมายถึงการอยู่รอดบนเกาะที่ห่างไกล ความเจริญบนแผ่นดินใหญ่ หมีด หมาด หรือในชื่อไทยว่า มนต์ศักดิ์ พันธุ์วิริย รัตน์ ผู้ใหญ่บ้านหลายสมัย และกำนันของเกาะมุก มีอาชีพ ประมง ทุกเช้า เขาและลูกเมียจะเอาเรือแจวออกสู่ทะเลลึก หน้าหมู่บ้าน ตกปลาตัวใหญ่ๆ สมัยโน้นพ้นฝั่งได้สัก 5 กิโลเมตรก็จะเจอปลานานาชนิด ทั้งปลาทู ปลาโอ ปลาลัง ปลาอินทรี ปลาช่อนทะเล ปลากะพงขาว กะพงแดง ปลา 16 case study 17 กฏแห่งกรรม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More