โศกนาฏกรรมทางถนนนักเรียนตาย 13 ศพ Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 3 หน้า 44
หน้าที่ 44 / 49

สรุปเนื้อหา

เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2545 เกิดเหตุการณ์อุบัติเหตุร้ายแรงขณะนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 6 บางส่วนเดินทางไปทัศนศึกษาที่ป่าน้ำหนาว ทำให้มีผู้เสียชีวิต 13 ราย และบาดเจ็บอีกกว่า 50 ราย โดยโชเฟอร์ของรถพ่วงซึ่งเกิดเหตุการณ์นี้ สูญเสียการควบคุมขณะหลับใน ข้อมูลจากตำรวจได้ระบุว่า รถเมล์ควรมีการแก้ไขกฎระเบียบเกี่ยวกับความปลอดภัยและการหยุดพักระหว่างการขับรถ ความรับผิดชอบในการเดินทางต้องแชร์ระหว่างทุกฝ่าย รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของเด็กและเยาวชนในสังคม ซึ่งเหตุการณ์นี้ได้กระตุ้นให้เกิดการพูดคุยเกี่ยวกับการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนนอย่างจริงจัง โดยกฎแห่งกรรมมีอิทธิพลเหนือกฎหมายของมนุษย์

หัวข้อประเด็น

-อุบัติเหตุร้ายแรง
-ความรับผิดชอบของหน่วยงาน
-ความปลอดภัยของนักเรียน
-กฎแห่งกรรม
-สังคมและการเดินทาง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บางศพศีรษะหลุดจากลำตัว เศษชิ้นส่วนแขนขาและศีรษะ เกลื่อนถนน ส่วนผู้บาดเจ็บ 51 ราย ส่งโรงพยาบาลพระ พุทธบาท 14 ราย โรงพยาบาลสระบุรี 4 ราย เสียชีวิตด้วย อาการสมองบวมที่โรงพยาบาล 1 ราย รวมเสียชีวิต 13 ศพ ส่วนโชเฟอร์รถพ่วงต้นเหตุโศกนาฏกรรมหมดโอกาสเป็นตีนผี เพราะร่างกายท่อนล่างอัดก๊อปปี้ติดกับตัวรถ ต้องตัดขาทั้งสอง ข้าง ให้การว่าไม่ทราบว่าเกิดอะไรขึ้น ขณะเกิดเหตุตนหลับใน เนื่องจากขับรถตรากตรำมาทั้งคืน ตำรวจจึงอายัดตัวไว้ดำเนิน คดี รุ่งเช้า หนังสือพิมพ์ทุกฉบับ โทรทัศน์ทุกช่องพาดหัว รายงานข่าวโชเฟอร์หลับในชนสยองนักเรียนตาย 13 ศพ อุบัติเหตุร้ายแรงครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อเวลา 10.30 นาฬิกา วันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2545 มีนักเรียนมัธยมปีที่ 6 นับร้อย ชีวิตไปทัศนศึกษาที่ป่าน้ำหนาว บาดเจ็บและเสียชีวิตจำนวน มาก ทำให้ทั่วประเทศตื่นตัวเรื่องความปลอดภัยของเยาวชน ของชาติบนทองถนน ไม่ว่าเส้นทางไกลเพื่อทัศนศึกษาหรือ และ เส้นทางสัญจรทุกวันไปกลับระหว่างบ้านกับโรงเรียน รณรงค์ไม่ให้คนขับรถขับเกิน 4 ชั่วโมงติดต่อกัน ต้องให้ นอนพักอย่างค่าครึ่งชั่วโมงก่อนเดินทางต่อ และควรเดินทาง กลางวันและเลี่ยงช่วงดึก ให้ถนนปลอดภัยจากคนขับรถเมา ยาบ้า ถึงแม้ว่ามีผู้ออกมาแสดงความคิดเห็นมากมายเพียงใด ก็ตาม แต่นักเรียนที่เสียชีวิต 13 ศพก็ไม่อาจฟื้นคืนชีพขึ้น มาได คนทั่วไปวิพากษ์วิจารณ์ว่า การที่นักเรียนโรงเรียนสมุทร พิทยาคม ต้องมาตายและบาดเจ็บครั้งนี้ เกิดจากหน่วยงาน ต่างๆ เช่นโรงเรียนบอกว่าขอรถตำรวจนำขบวนแล้ว แต่ตำรวจ บอกว่า กำลังไม่พอ ส่วนตำรวจโยนกลับอ้างโรงเรียนไม่ขอ รถนำขบวนเอง บ้างก็ว่าสังคมต้องมีจิตสำนึกของการอยู่ร่วม กันและช่วยกันดูแลลูกหลานให้ปลอดภัย ไม่ใช่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ต้องรับผิดชอบคนเดียว คนขับรถต้องพร้อมเดินทาง ครู อาจารย์ต้องปฏิบัติหน้าที่เต็มความสามารถ นักเรียนต้องเชื่อ อาจารย์ในการเดินทาง บ้างก็ว่าณัฐกรคงไม่ถึงที่ตาย ถ้าไม่ เปลี่ยนรถกับอาจารย์ สรุปแล้วทุกชีวิตมีค่าอย่าประมาท แต่จะมีใครรู้บ้างว่า กฎแห่งกรรมย่อมอยู่เหนือกฎหมาย กฎระเบียบหรือกฎเกณฑ์ใดๆ และที่สำคัญที่สุด อยู่นอกเหนือ ความคิดคาดเดาว่ามันน่าจะเกิดจากคนนั้นคนนี้ กล่าวโทษ กันไปมา จนไม่รู้ว่าใครคือต้นเหตุที่แท้จริง ณัฐกร แก้วโอภาส อายุ 18 ปี หนึ่งในบรรดาผู้เสีย 74 case study 75 กฏแห่งกรรม "ตายข้างถนน"
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More