ข้อความต้นฉบับในหน้า
ส่วนการแก้ไขแม่ปุ๋ยทำได้ยากกว่าสองกรณีข้างต้นเพราะ
แม่ปุ๋ยไม่ค่อยทำบุญ ปีหนึ่งๆ มีโอกาสพบพระและทำอาหาร
ถวายพระเพียงครั้งเดียว เมื่อมีพระธุดงค์จากแผ่นดินใหญ่
มาปฏิบัติธรรมบนเกาะ ซึ่งนานๆ จะมาที่นับได้ปีละครั้งๆ ละ
1-3 รูป แต่บาปนั้นทำบ่อยๆ วันที่ไม่ได้ทำบาปคือวันที่หา
ปลาไม่ได้ หรือทะเลมีลมมรสุม แม่ปุ๋ยเป็นชาวพุทธ แต่
ไม่ค่อยได้สร้างบุญแบบชาวพุทธ แต่เป็นคนที่มีจิตใจงามแบบ
ชาวโลก และคงคิดแบบชาวโลกทั่วไปโดยเฉพาะชาวพุทธใน
นามว่า ตนไม่ได้เบียดเบียนใคร แค่นี้ก็เป็นคนดีได้แล้ว ทำ
ให้แม่ปุ๋ยมีความเป็นอยู่ระดับหนึ่งเท่านั้น และต้องเสวยวิบาก
ยาวนานมากจนกว่าจะพ้นวิบาก อันที่จริงการไม่เบียดเบียน
ใคร เป็นเพียงการละชั่ว แต่ยังไม่ได้ทำความดี และทำจิตใจ
ให้ผ่องใส ทั้งสามสิ่งนี้จะต้องทำไปด้วยกันตามหลักคำสอน
ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ขุนศึกทั้งห้า
พ่อหมีดและแม่ปุ๋ยมีบุตรธิดารวม 6 คน เป็นชาย 5
คน หญิง 1 คน ทุกคนเกิดบนเกาะมุก อันสวยงามด้วย
หาดทราย โขดหิน ทิวมะพร้าว และแสงอาทิตย์ อุดมด้วย
อาหารทะเล ได้ออกกำลังกายตามสภาพภูมิประเทศ คือว่ายน้ำ
ดำน้ำ ปืนหินชายฝั่งจน ร่างกายแข็งแรง ทั้งๆ ที่บนเกาะ
ไม่ค่อยมีอาหารเนื้อสัตว์ ผักและผลไม้ให้รับประทาน เหตุใด
ลูกๆ ทั้งหกคนได้มาเกิดกับพ่อแม่คนเดียวกัน และเกิดไกล
ถึงเกาะแห่งหนึ่งในทะเลอันดามันทางภาคใต้ของประเทศเกือบ
ถึงชายแดนมาเลเซีย
เรื่องนี้มีเหตุ คือการที่จะมาเป็นพ่อแม่ลูกกันได้มีหลาย
กรณี ทั้งเคยทำบุญร่วมกันหรือทำบาปร่วมกัน หรือไม่เคย
ทำบุญและทำบาปร่วมกัน แต่มีกำลังบุญและกำลังบาปพอๆ
กัน กรณีนี้ลูกๆ 6 คนเคยทำบุญและวิบากกรรมร่วมกัน
เหมาะสมกับกำลังบุญและวิบากกรรมของผู้ให้กำเนิด ทุกคน
จึงมาพบกัน ทั้งๆ ที่ในวัฏสงสารนี้ไม่เคยเกิดเป็นพ่อแม่ลูก
กันมากอน
ในอดีตลูกชาย 5 คนของกำนันหมดและแม่ปุ๋ย พันธุ์
วิริยรัตน์ เคยเกิดเป็นเพื่อนทหารร่วมรบของพระราชาพระองค์
หนึ่ง เมื่อรบชนะข้าศึกแล้วมักจับเชลยไปปล่อยเกาะ
ต่อมา พระราชาทรงพบนักบวชรูปหนึ่ง ทรงฟังเทศน์
แล้วเกิดศรัทธา ตั้งแต่รูปสมบัติ บุคลิก บุญลักษณะ และ
ธรรมะที่ท่านแสดงอย่างแรงกล้า จนกระทั่งพระองค์ทรงเบื่อ
28
case study
29
กฏแห่งกรรม
"ยักษ์น้ำ - ปลาทะเล”