กรรมที่ส่งผล: ปากเบี้ยวและความเหนื่อยล้า Case Study กฎแห่งกรรม เล่มที่ 3 หน้า 38
หน้าที่ 38 / 49

สรุปเนื้อหา

เรื่องราวของวรรณาที่อาศัยอยู่ในต่างแดนซึ่งมีความรู้สึกเดียวดายและไม่มีญาติพี่น้อง ได้ข่าวดีจากเมืองไทยเกี่ยวกับการทำบุญกับหลวงพ่อ ซึ่งทำให้เธอรู้สึกมีความสุขและหวังว่าการทำบุญจะช่วยลดกรรมที่เธอสั่งสม มา โดยเฉพาะกรรมที่ทำให้เธอทำงานเหน็ดเหนื่อยและมีอาการปากเบี้ยว เมื่อมีโอกาสกลับไทยเพื่อรักษาตัว เธอได้พบคุณครูไม่ใหญ่ที่สอนหลักธรรมและแนะนำว่าอาการปากเบี้ยวเกิดจากการกระทำในอดีตชาติ ที่ทำให้เธอรู้ว่าความทุกข์ในปัจจุบันเป็นผลจากกรรมที่เคยสร้าง.

หัวข้อประเด็น

-กรรมและผลกรรม
-การทำบุญ
-การเรียนรู้หลักธรรม
-ปากเบี้ยวและสาเหตุ
-ชีวิตในต่างแดน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เมืองนอน มาอยู่ในดินแดนที่ห่างไกลพระพุทธศาสนาหลัก พึ่งพิงใจ และเดียวดายกลายเป็นคนไม่มีญาติพี่น้องอย่างนี้ แต่พอได้ยินข่าวจากเมืองไทยว่า มีการทำบุญกับหลวงพ่อวัด ปากน้ำ ภาษีเจริญ วรรณาใช้เวลาคิด 5 วัน ตัดใจเอาเงิน ก่อนที่สะสมตั้งแต่วันแรกที่ทำงานในอเมริกา หวังเอาไว้ใช้ยาม แก่ชราทำบุญหมด เพราะเกิดตายเดี๋ยวนี้จะไม่มีโอกาสได้ใช้ เงินก้อนนี้อีกต่อไป แล้วมันจะตกไปเป็นของใครก็ไม่รู้ ในใจ มีความรู้สึกว่าตัวเองต้องทำบุญกับท่านให้ได้ เพราะท่านเปรียบ เสมือนโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าส่งไปทุกส่วนของโลกที่ทุกคน ต้องมาชาร์จกับท่าน ได้ทำบุญกับท่านแล้ว วรรณามีความสุข ปีติใจตลอดเวลา หายว้าเหว่ที่ต้องจากบ้านไปไกล แต่กรรมอะไรก็ไม่รุนแรงเท่ากรรมปากเบี้ยว กับต้อง ทำงานเหน็ดเหนื่อย ทั้งๆ ที่น่าจะสบายได้แล้ว ดูตรงๆ จาก ข้างนอกปากไม่เบี้ยว แต่ข้างในเหมือนถูกล็อกจนแก้มซ้ายอา ไม่ค่อยออก ทำให้เคี้ยวข้าวช้ากว่าเก่า และพูดไม่ค่อยสบาย แล้วร่างกายยังร้าวระบมจนทนแทบไม่ไหวเอาอีก ต้องลางาน ติดต่อกันหลายเดือน จนนายฝรั่งโทรมาตามหลายครั้ง อยาก ให้มีใครมาบอกสักที เพื่อกรรมจะบรรเทาเบาบางลง และมี ชีวิตต่อไปอีกยาวนาน พอดีวรรณามีโอกาสเดินทางกลับเมืองไทยเพื่อรักษาตัว เพื่อนจึงพาเธอไปเข้าโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ทำให้ เธอมีโอกาสพบคุณครูไม่ใหญ่ และได้ซักถามหลักธรรมคำ สอนต่างๆ จนกระทั่งมาถึงสาเหตุที่ทำให้เธอปากเบี้ยวและต้อง ทำงานเหน็ดเหนื่อยมากขนาดนี้ คุณครูไม่ใหญ่กรุณาเล่าฝัน ในฝันให้เธอฟังว่า ฝันในฝัน: มันเป็นวจีกรรมในอดีตชาติ ที่วรรณาเคยเถียงพ่อเถียง แม่เอาไว้ นี่เป็นเพียงเศษกรรมเท่านั้น เรื่องมันมีอยู่ว่าใน ชาตินั้น วรรณาเกิดเป็นหญิงสาวในตระกูลที่มีฐานะและเป็น ที่รักของบิดา มารดาประดุจดั่งแก้วตาดวงใจ ท่านทั้งสองจึง ตามใจมาก ทำให้วรรณามีนิสัยเอาแต่ใจตัว เวลาบิดามารดา สั่งสอน วรรณามักจะเถียงแบบข้างๆ คูๆ เพื่อเอาชนะบิดา บางครั้งใช้นิสัยนี้กับข้าทาสบริวารด้วย โดยเฉพาะ ผู้ที่มีหน้าที่ดูแลเสมือนพี่เลี้ยง ที่รักลูกมากและมีอายุมากกว่า เมื่อพี่เลี้ยงพูดแนะนำเวลาวรรณาทำไม่ถูก ก็ไปโกรธเขา ถึง มารดา กับตบหน้าเขาบ้าง ตบปากเขาบ้างก็มี ต่อมาภายหลังบิดา มารดาได้ชักนำให้รู้จักคนใจบุญที่ชอบทำบุญ สร้างกุศลกัน 64 case study 65 กฏแห่งกรรม “ปากเบี้ยว - เหนื่อยกาย”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More