ข้อความต้นฉบับในหน้า
เพื่อนยังล้อเลียนอีก จึงถามเพื่อนว่า
“เธอล้อฉันว่าปากเบี้ยวทำไม?” เพื่อนรีบแก้ตัวว่า
“ล้อเล่นน่ะ อย่าคิดอะไร”
วรรณาตอบว่า “ไม่คิดหรอก แต่เดี๋ยวเธอจะมีวจีกรรม
ถึงแม้จะล้อเล่นก็ไม่ควร เพราะฉันมาชวนเธอทำความดี"
ซีแอตเติล มีพระไทยอยู่บ้างพอเป็นเนื้อนาบุญ วรรณา
ใช้ความสามารถในการปรุงอาหาร ทำอาหารบูชาพระ ถวาย
พระ และเลี้ยงคนที่มาทำบุญนั่งสมาธิที่วัดไทยในซีแอตเติล
เป็นประจํา
การทำงานเป็นกุ๊กในร้านอาหารต้องยืนผิดทั้งวัน ไอร้อน
จากหน้าเตาเผาลวกผิวตลอดเวลา ทำให้ร่างของวรรณารับแทบ
ไม่ไหว อยู่ดีๆ ตะหลิวทัพพีในมือหลุด นิ้วมือทุกนิ้วยกเว้น
นิ้วนางจนถึงข้อมือเจ็บจิ๊กๆ เหมือนมีช่างเย็บผ้าเอาเข็มมาสอย
อยู่ข้างใน พอหายข้างนี้เปลี่ยนไปเจ็บอีกข้างหนึ่งสลับกันไป
เจ็บเหมือนโดนน้ำร้อนลวกแสบสันต์ บางที่มือชาไปถึงหัวไหล่
กลับไปบ้านต้องประคบน้ำร้อนน้ำเย็น กว่าจะหลับได้ก็สว่าง
ได้นอนไม่กี่ชั่วโมง พอเข้าครัว หยุดทำงานเป็นไม่ได้ หยุด
เมื่อไหร่เจ็บทันทีเหมือนถูกเข็มแทงสอยจากข้างในอีก ทุกข
เวทนาจนไม่อยากจะพูดกับใคร แขนขาหากวางไม่ดีจะปวดร้าว
กะทันหัน ไม่รู้จะวางท่าไหนจึงจะไม่เจ็บโดนใจ เวลานอน
เก้าอี้ก็นั่งไม่ได้เหมือนคนมีกรรม นั่งเมื่อใด ต้องนั่งให้ตลอด
อย่าลุก เพราะถ้าลุกแล้วจะเจ็บขึ้นมาทันที ถ้าจะให้ดีต้อง
เดินไปมาทั่วครัว ทั้งๆ ที่แสนจะปวดมือ ปวดขา ปวดไหล่
ขบเมื่อยตัวอยากพักเต็มที่ ยิ่งเวลารับประทานอาหาร คน
เข้าเต็มร้าน มือไม้วุ่นวายหยุดนิ่งไม่ได้สักวินาที แต่เธอนึก
ถึงองค์พระให้ได้อย่างต่อเนื่องแม้จะยุ่งขนาดไหน ข้าวสารหุง
สัปดาห์ละหลายกระสอบ ต้องปรุงอาหารให้เร็วที่สุด เพราะ
ลูกค้าเข้าร้านเรื่อยๆ ไม่ขาดสาย โดยเฉพาะเย็นวันศุกร์คน
แน่นร้านจนไม่มีเวลาแม้จะเข้าห้องน้ำ ลุยทำมาหากินอย่างนี้
จนร่างกายทรุดโทรม
ส่วนสามีฝรั่งชื่อ ชาลี มีอาการปวดหลังมาก มักจะหา
เรื่องและมีปากเสียงกันเสมอ เขาคอยชี้นิ้วสั่งเหมือนเธอเป็น
คนใช้ ให้ทำไอ้โน่นไอ้นี่ ถ้าไม่ถูกใจจะโดนว่า กลับจากยืน
ผัดทั้งวันที่ร้านแล้ว เธอต้องทำงานบ้านทุกอย่าง หุงหาอาหาร
ดูแลเสื้อผ้า
ฯลฯ ไม่ให้ขาดตกบกพร่อง ได้แต่คิดปลงเสียว่า
ชาติก่อนเขาคงเคยเป็นคนใช้ให้เธอบงการมาแล้ว ชาตินี้ต้อง
ทำหน้าที่ให้ดีที่สุด จะได้หมดกรรม
นึกๆ แล้วกรรมอันใดหนอที่ต้องพลัดพรากจากบ้านเกิด
62
case study
63
กฏแห่งกรรม
“ปากเบี้ยว - เหนื่อยกาย”