การฝึกตนของพระภิกษุในสายบาลีและนักธรรม สุขแบบพระ หน้า 20
หน้าที่ 20 / 239

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงความสำคัญในการเรียนรู้ภาษาบาลีและการปรับปรุงนิสัยภายในตน ซึ่งสำคัญต่อการเป็นพระภิกษุในสายบาลีและสายการศึกษานักธรรม การเรียนภาษาบาลีเป็นการเตรียมความพร้อมในการแปลและทำความเข้าใจพุทธวจนะ ในขณะที่การเรียนรู้ในสายนักธรรมช่วยในการพัฒนานิสัยที่ดีขึ้น เมื่อบวชตั้งแต่เด็กเป็นข้อได้เปรียบที่ช่วยให้มีความบริสุทธิ์ทั้งใจและการกระทำ เนื่องจากไม่ต้องเผชิญกับความยุ่งเหยิงของใจ เช่น การก่อเวรหรือบาป จึงนำไปสู่ความสุขแบบพระและการเข้าถึงนิพพานได้ง่ายขึ้น.

หัวข้อประเด็น

- ความสำคัญของการฝึกตน
- การเรียนภาษาบาลีและนักธรรม
- คู่มือการปรับปรุงนิสัย
- ประโยชน์ของการบวชตั้งแต่เด็ก
- การรักษาความเป็นสมณะ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บางคนในโลกนี้ ร่ำเรียนกันมาจนพูดได้หลายสิบ ภาษา แต่ว่าขาดไปภาษาหนึ่ง นั่นคือ ภาษาคน เพราะมุ่ง เอาแต่การเรียนวิชาการ แต่ยังไม่ได้แก้ไขปรับปรุงนิสัยของ ตน การฝึกตนจึงต้องฝึกหยาบคู่ไปกับการฝึกละเอียด มี ฉะนั้น จะมีแต่ความรู้ แต่นิสัยจะยังไม่ดี ในการเรียนของการคณะสงฆ์เรา แบ่งเป็นสายบาลี กับสายนักธรรม สาเหตุที่แบ่งเป็นสองสายแบบนี้ ก็เพราะ ต้องการให้พวกเรารู้ว่า เมื่อเรียนภาษาบาลีแล้ว งานที่ต้อง ทํา ไม่ใช่แค่การรู้ภาษาบาลี แต่ยังมีงานแก้ไขปรับปรุงตัว เองด้วย ซึ่งการแก้ไขปรับปรุงตนเองนั้น จะมีสอนอยู่ใน สายนักธรรม ดังนั้น เป้าหมายของสองสายนี้จึงต้องไปร่วมกัน การ เรียนบาลีทําให้ได้รู้จักการแปลภาษาบาลีคล่อง เพราะพุทธ วจนะในการฝึกตนเก็บอยู่ในภาษาบาลี การเรียนนักธรรม เพื่อให้ได้รู้จักการแก้ไขปรับปรุงนิสัยตัวเอง เพราะการปิด นรก เปิดสวรรค์ ไปนิพพานอยู่ที่การฝึกตน พวกเราโชคดีที่บวชตั้งแต่ยังเล็ก จนกระทั่งเติบโตได้ บวชเป็นพระภิกษุ จึงต้องรู้หลักการรักษาความเป็นสมณะ ของตนเองให้ดีว่า บาลีมีไว้ไขภาษา นักธรรมมีไว้แก้ไข ปรับปรุงตนเอง สองอย่างนี้พรากจากกันไม่ได้ ข้อได้เปรียบของการบวชตั้งแต่เล็ก คือพวกท่านจะ ไม่มีขยะในใจ ไม่ต้องไปก่อเวรก่อบาป ไม่ต้องไปเฉียดคุก (๑๔) สุขแบบพระ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More