การรักษาพระพุทธศาสนาและการทำหน้าที่ครูสอนศีลธรรม สุขแบบพระ หน้า 24
หน้าที่ 24 / 239

สรุปเนื้อหา

การรักษาพระพุทธศาสนาเริ่มจากการฝึกตัวเองและเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ของพระภิกษุ โดยมีหน้าที่ฝึกฝนตนเองตามพระธรรมวินัย และการอบรมผู้อื่นให้มีศีลธรรม โดยพระพุทธองค์ได้กำหนดให้การเผยแผ่ผ่านทิศ 5 ให้เกิดความสงบสุขในสังคมและส่งเสริมให้แต่ละคนปฏิบัติหน้าที่อย่างครบถ้วน โดยศีลธรรมมีความสำคัญในการอยู่ร่วมกันของชาวพุทธ ทุกคนต้องให้ความสำคัญในการยืนหยัดของพระพุทธศาสนาอย่างเข้มแข็ง.

หัวข้อประเด็น

-การรักษาพระพุทธศาสนา
-บทบาทของครูสอนศีลธรรม
-การฝึกอบรมผู้อื่น
-ทิศ 5
-ความสำคัญของศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

การจะไปรักษาพระพุทธศาสนา การจะไปตอบแทนคุณ ญาติโยมไม่มีทางทําได้ดี ต้องรู้จักวิธีที่จะรักษาความเป็น เพชรของเราไว้ไม่ให้กลายเป็นขยะก่อน จึงจะไปทำหน้าที่ ครูสอนศีลธรรมได้ เมื่อเราฝึกทั้งหยาบและละเอียด คือ มีทั้งความรู้ และปรับปรุงแก้ไขนิสัยตนเองได้ดีแล้ว การจะก้าวเข้าไป เป็นครูสอนศีลธรรม อย่าเพิ่งไปมองอะไรไกลเกินตัว การ ทำหน้าที่ของครูสอนศีลธรรมอย่างแท้จริงนั้น คือ การฝึก อบรมคนในทิศ 5 ให้เป็นคนดี เราเรียนนักธรรมมาแล้วว่า หน้าที่พระภิกษุโดย เบื้องต้นมี ๒ ประการ หน้าที่ข้อแรก คือ ฝึกฝนอบรมตนตามพระธรรม วินัยอย่างเคร่งครัด หน้าที่ข้อที่สอง คือ สั่งสอนอบรมประชาชนในสังคม ให้มีศีลธรรม พระพุทธองค์ทรงให้หลักสําคัญไว้แล้วว่า การเผยแผ่ พระพุทธศาสนา คือ การเผยแผ่ผ่านทิศ 5 พระภิกษุเรามี หน้าที่เป็นกัลยาณมิตรต่อชาวโลก การที่โลกจะสงบสุข ได้ พระเราต้องสอนให้แต่ละคนปฏิบัติหน้าที่ในทิศ 5 ให้ สมบูรณ์ โดยมีพระเราเป็นต้นแบบศีลธรรม การที่พระพุทธศาสนาจะยืนหยัดอยู่ได้ ก็ขึ้นอยู่กับ ว่า ทิศ 5 ของชาวพุทธแต่ละคนมีความเข้มแข็งขนาดไหน (๑๘) สุขแบบพระ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More