การเผยแผ่พระพุทธศาสนาในชุมชนดอย สุขแบบพระ หน้า 211
หน้าที่ 211 / 239

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เป็นเรื่องราวของผมธรรมทายาทวัน บ่อแสง จากจังหวัดเชียงใหม่ ที่เติบโตในชุมชนที่เต็มไปด้วยอบายมุข การที่พระอาจารย์สมชายจิตาโภเข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนา ทำให้ชุมชนที่เคยมืดมิดกลับสว่างขึ้น โดยผมได้รับรู้ถึงความสำคัญของการทำความดีและนั่งสมาธิ ซึ่งแม้จะเริ่มต้นได้ยาก แต่เราถือว่ามันเป็นการเริ่มต้นที่สำคัญมากสำหรับการเปลี่ยนแปลงในอนาคต ขอให้เรานำธรรมะไปสู่ทุก ๆ ดอยเพื่อช่วยกันทำให้คนที่รอคอยได้รับแสงธรรมที่แท้จริง

หัวข้อประเด็น

-การเผยแผ่พระพุทธศาสนา
-ชุมชนอบายมุข
-การนั่งสมาธิ
-การทำความดี
-ธรรมะในชีวิตประจำวัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๕ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๕๓ ผมธรรมทายาทวัน บ่อแสง อายุ ๒๑ ปี ตัวแทนธรรม ทายาทจากสนแก้ววนาราม จังหวัดเชียงใหม่ครับ ผมเป็น คนไทยใหญ่ บ้านอยู่บนดอย อำเภอฝาง ผมเติบโตมาในชุมชนที่เต็มไปด้วยอบายมุข (ตรงนี้ อันตราย เหตุเพราะกรรมคบคนพาลของแต่ละคนที่มีวิบาก กรรมเหมือนกันดึงดูดมารวมกัน ก็จะเป็นชุมชนอบายมุข อย่างนี้แหละจ้ะ อบายมุข แปลว่า ปากทางไปสู่อบาย ต้นทางมันอาจ จะสนุก มันมึนเมา มันทึมๆ แต่ปลายทางอุบายจ้ะ) เป็น พื้นที่เสี่ยง (คำว่า "เสี่ยง" นี่เสี่ยงทั้งทรัพย์ อวัยวะ ชีวิต กระทั่งอบายจ้ะ) และปิดกั้นตัวเองจากคนภายนอก แต่ เพราะความเมตตาของหลวงพ่อที่ส่งพระอาจารย์สมชาย จิตาโภ ให้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาบนดอย พวกเรา ถึงได้รู้จักพระ และรู้จักการทำความดี หมู่บ้านบนดอยที่ ผมอยู่จึงค่อยๆ สว่างขึ้นครับ (สักวันหนึ่ง เราจะต้องเอาผ้าเหลืองไปห่มทุกดอย ให้สว่างไสว แปลว่า เราจะต้องนำธรรมะของพระสัมมา สัมพุทธเจ้าไปสว่างที่ตรงนั้น เพราะว่ามีผู้ที่กำลังรอคอย เราอยู่เยอะทีเดียวที่ตรงนี้นะจ๊ะ) การนั่งสมาธิในวันแรกของผมนั้น มันไม่เป็นสมาธิ เอาเสียเลย (นี่ก็เป็นของสากลที่ทุกคนต้องเจอ เจอมาก จดหมายจากพระลูกชาย Man Man ๑๔๕
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More