ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 10
ถัดปลายลิ้นเข้ามา เป็นกรณ์ของอักขระที่เป็น มุทธชะ คือ ฏ ฐ
ฑ ฒ ณ. ร พ.
ปลายลิ้นเป็นกรณ์ของอักขระที่เป็นทันตชะ คือ ต ถ ท ธ น ล ส.
ฐานของตน เป็นกรณ์ของอักขระที่เหลือจากนี้ คือ ที่เป็นกัณฐชะ
บ้าง โอฏฐชะบ้าง นาฬิกัฏฐานชะบ้าง และของอักขระที่เกิดใน ๒ ฐาน
ทั้งหมด.
เสียงอักขระ
มาตราที่จะว่าอักขระนั้น ดังนี้ :- สระสั้นมาตราเดียว, สระ
ยาว ๒ มาตรา, สระที่มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลัง ๓ มาตรา, ส่วน
พยัญชนะทุก ๆ ตัว กึ่งมาตรา แม้พยัญชนะควบกัน เช่น ตุ๊ย มุห
วุห เป็นต้น ก็กึ่งมาตรา ท่านกำหนดระยะเสียงของอักขระ เทียบ
กับวินาที ดังนี้ :-
สระสั้น ๑ ตัว = ๑/๒ วินาที (ครึ่งวินาที)
สระยาว ๑ ตัว = 9 วินาที
สระที่มีพยัญชนะสังโยคอยู่เบื้องหลัง = ๑ ๑/๒ วินาที (วินาทีครึ่ง)
พยัญชนะตัวหนึ่ง ๆ
= ๑/๔ วินาที
พยัญชนะควบ เช่น ปุ้ย = ๑/๔ "
(หนึ่งใน ๔ ของวินาที)
(หนึ่งใน ๔ ของวินาที)
สระ ๘ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ นี้ มีเสียงอย่างเดียว
กับภาษาไทย และย่อลงเป็น ๒ คือ เป็น รัสสะ มีเสียงสั้นอย่าง ๑
เป็น ทีฆะ มีเสียงยาวอย่าง ๑.