สระสนธิในบาลีไวยากรณ์ อธิิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 18
หน้าที่ 18 / 30

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายเกี่ยวกับสระสนธิในบาลี โดยมีการสนธิกิริโยปรกณ์หลากหลายชนิด เช่น โลโป อาเทโส อาคโม และวิการ โดยเน้นไปที่หลักการและข้อกำหนดในการลบสระหน้าและหลัง ทั้งนี้เพื่อให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจและประยุกต์ใช้ได้อย่างถูกต้อง เช่น การแปลงคำในประโยคที่ใช้สระสนธิ การอบรมเรื่องนี้มีความสำคัญต่อการศึกษาภาษาบาลีและวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง

หัวข้อประเด็น

-สระสนธิ
-โลปสระ
-บาลีไวยากรณ์
-การลบสระหน้า
-การลบสระหลัง
-การแปลงคำในประโยค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 17 สระสนธิ ในสระสนธิ ได้สนธิกิริโยปรกณ์ ๓ อย่าง คือ โลโป ๑ อาเทโส ๑ อาคโม ๑ วิกาโร ๑ ปกติ ๑ ที่โฆ ๑ รสส์ ๑. ขาดแต่สญฺโญโค อย่างเดียว เพราะสระจะซ้อนกันไม่ได้ โลปสระสนธิ มี ๒ คือ ปุพฺพโลโป ลบสระหน้า ๑ อุตตรโลโป ลบสระหลัง ๑. สระที่สุดของศัพท์หน้าเรียก สระหน้า, สระหน้าของ ศัพท์หลัง เรียกสระเบื้องปลายหรือสระหลัง เช่น ยสฺส อินฺทฺริยานิ ๒ ศัพท์นี้ ยสฺส เป็นศัพท์หน้า อินทริยานิ เป็นศัพท์หลัง, สระที่สุด ของ ยสฺส อันเป็นศัพท์หน้าก็คือ อะ อะ จึงเป็นสระหน้า, สระหน้า ของ อินฺทริยานิ อันเป็นศัพท์หน้าก็คิด อิ อิ จึงเป็นสระหลัง, เวลาจะ ต่อเข้ากัน ลบ อะ ที่ สะ แห่ง ยสฺส เสียแล้ว เอาไปต่อกับสระหลัง จึงเป็น ยสฺสินฺทฺริยานิ ดังนี้เป็นต้น ทั้งสระหน้าและสระหลังนี้ ต้องไม่มี พยัญชนะอื่นคั่นในระหว่าง จึงจะลงได้ ถ้ามีพยัญชนะคั่น ลบไม่ได้ ลบสระหน้านั้น คือ :- ก. สระหน้าเป็นรัสสะ สระเบื้องปลายอยู่หน้าพยัญชนะสังโยค หรือเป็นทีฆะ เมื่อลบสระหน้าแล้ว ไม่ต้องทำอย่างอื่น เป็นแต่ต่อเข้า กับสระเบื้องปลายทีเดียว เช่น ยสฺส อินทริยานิ ลบสระหน้า คือ อะ ที่สุดแห่งศัพท์ ยสฺส เสีย สนธิเป็น ยสฺสินทริยาน, โนห์-เอต ลบสระ หน้าคือ อิ ที่สุดแห่งศัพท์ โนริ เสีย สนธิเป็น โนเหตุ, สเมต-อายสมา ลบสระหน้า คือ อุ ที่สุดแห่งศัพท์ สเมตุ เสีย สนธิเป็น สเมตายสุมา ข. ถ้าสระทั้ง ๒ เป็นรัสสะ แต่มีรูปไม่เสมอกัน คือ ข้างหนึ่ง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More