การสนธิในบาลีไวยากรณ์ อธิิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 17
หน้าที่ 17 / 30

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงการสนธิในบาลี ซึ่งหมายถึงการต่อศัพท์และอักขระเพื่อประโยชน์ต่างๆ เช่น การย่นอักขระ การสร้างความสลสลวย และการช่วยในการแต่งฉันท์ โดยมีการอธิบายความแตกต่างระหว่างสนธิกับสมาส รวมถึงรายละเอียดของวิธีการสนธิและประเภทต่างๆ ของสนธิ โดยเน้นที่การลบและแปลงอักขระเพื่อให้ง่ายต่อการใช้งานในภาษา.

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของสนธิ
-ประโยชน์ของสนธิ
-ความแตกต่างระหว่างสนธิกับสมาส
-ประเภทของสนธิ
-วิธีการทำสนธิ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๑ - อธิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 16 สนธิ สนธิ แปลว่า ต่อ คือต่อศัพท์และอักขระ ให้เนื่องกันด้วย อักขระ เพื่อประโยชน์ ๓ ประการ คือ:- ာ ๑. ยื่นอักขระให้น้อยลง ๒. เป็นอุปการะในการแต่งฉันท์ ๓. ทำคำพูดให้สลสลวย สนธิ ต่างจากสมาส เพราะสนธิต่อศัพท์และอักขระให้เนื่องด้วย อักขระ ส่วนสมาส ย่อบทที่มีวิภัตติตั้งแต่ ๒ บทขึ้นไปให้เป็นบทเดียว กัน เช่น กโต อุปกาโร เมื่อเอาบททั้ง ๒ นี้ย่อเข้ากันเป็น กตอุปกาโร นี้ชื่อว่าสมาส แต่คำว่า กตอุปกาโร นี้ ยังมีอักขระมากไปและเป็นคำที่ ไม่สละสลวยตามความนิยมของภาษา จึงต้องต่อด้วยวิธีสนธิ เพื่อ ย่นอักษรให้น้อยลงอีก คือ เอา กต-อุปกาโร มาต่อกันเข้า เป็น กโตปกาโร นี้ชื่อว่าสนธิ ในที่นี้จะอธิบายเรื่องของสนธิโดยเฉพาะ สนธินั้น โดยย่อมี คือ สระสนธิ ๑ พยัญชนะสนธิ ๑ นิคคหิตสนธิ ๑. และสนธิกิริโยปรกณ์ คือ วิธีที่ใช้เป็นเครื่องมือแก่การทำสนธิ นั้นมี 4 อย่าง คือ :- โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปกติ ๑ ที่โฆ ทำให้ยาว ๑ รสส์ ทำให้สั้น ๑ สญฺโญโค ซ้อนตัว ๑. 0
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More