อธิบายบาลีไวยากรณ์: พยัญชนะและสระ อธิิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 6
หน้าที่ 6 / 30

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายความหมายและความสำคัญของพยัญชนะและสระในภาษาบาลี โดยชี้ให้เห็นว่าพยัญชนะต้องอาศัยสระในการออกเสียง และไม่สามารถมีเสียงได้เพียงลำพัง การทำให้เสียงของพยัญชนะปรากฏชัดเจนจึงต้องพึ่งพาเสียงสระ นอกจากนี้ยังกล่าวถึงการจัดแบ่งพยัญชนะออกเป็นสองกลุ่มคือ วรรคและอวรรค เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนยิ่งขึ้นเกี่ยวกับบทบาทการใช้งานของพยัญชนะในภาษาบาลี โดยผู้อ่านสามารถนำความรู้นี้ไปปรับใช้ในด้านการศึกษาภาษาบาลีได้อย่างมีประสิทธิภาพ

หัวข้อประเด็น

- ความหมายของพยัญชนะ
- การทำงานร่วมกับสระ
- การจัดแบ่งพยัญชนะเป็นวรรคและอวรรค

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - อธิบายบาลีไวยากรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 5 พยัญชนะ อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิตเป็น ที่สุด ชื่อพยัญชนะ คำว่า พยัญชนะ แปลว่าทำเนื้อความให้ปรากฏ และเป็นนิสิต คือต้องอาศัยสระ จึงจะออกเสียงได้ โดยนัยนี้ สระ กับ พยัญชนะ ต่างกัน สระ แปลว่า เสียง ออกเสียงได้ตามลำพังตน เอง และทำพยัญชนะให้ออกเสียงได้ เรียกว่า นิสัย เป็นที่อาศัย ของพยัญชนะ ส่วน พยัญชนะ แปลว่า ทำเนื้อความให้ปรากฏ และ เป็นนิสิต ต้องอาศัยสระออกสำเนียง สระ และ พยัญชนะ จะใช้แต่อย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้นย่อมไม่ได้ เพราะลำดังสระเอง แม้ออกเสียงได้ ถ้าพยัญชนะไม่อาศัยแล้ว ก็จะ มีเสียงเป็นอย่างเดียวกันหมด ถ้าพยัญชนะไม่ชัด ยากที่จะ สังเกตได้ เช่นจะถามว่า ไปไหนมา ถ้าพยัญชนะไม่อาศัย สำเนียง ก็จะเป็นตัว อ เป็นอย่างเดียวไปหมดว่า "ไอ ไอ้ อา" ต่อพยัญชนะ เข้าอาศัยจึงจะออกสำเนียงปรากฏชัดว่า "ไปไหนมา" ดังนี้ ส่วน พยัญชนะถ้าไม่อาศัยสระ ก็ไม่มีสำเนียงออกมาได้ ฉะนั้น พยัญชนะ ทุกตัวจึงต้องอาศัยสระออกสำเนียง ๓๓ พยัญชนะ ตัวนี้ จัดเป็น ๒ พวก คือ ที่เป็นพวก ๆ กัน ตามฐานกรณ์ที่เกิด เรียก วรรค ๑. ที่ไม่เป็นพวกเป็นหมู่กันตาม ฐานกรณ์ที่เกิด เรียก อวรรค ๑. พยัญชนะวรรค จัดเป็น ๕ วรรค มีวรรคละ ๕ ตัว เรียกตามพยัญชนะที่อยู่ต้นวรรค ดังนี้ :-
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More