บรรพชิตวิทยา พรรษาวิสุทธิ์ หน้า 28
หน้าที่ 28 / 139

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงการตัดสินใจของลูกๆ ที่ต้องการบวชในพระพุทธศาสนา เนื่องจากเห็นว่าชีวิตนักบวชสามารถช่วยหลุดพ้นจากทุกข์ได้ โดยเรียนรู้จากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระอริยสาวก ซึ่งทั้งหมดล้วนเคยมีชีวิตธรรมดาแต่มีปัญญาและบุญบารมีในการหาหนทางพ้นทุกข์ ชีวิตวิถีของทั้งผู้ดีและคนจนต่างก็มีทุกข์เหมือนกัน แต่คำสอนของพระบรมศาสดานั้นชี้ให้เห็นความจริงของโลกและเส้นทางสู่การหลุดพ้น.

หัวข้อประเด็น

-การบวชในพระพุทธศาสนา
-แนวทางการพ้นจากทุกข์
-การศึกษาจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
-ชีวิตของพระอริยสาวก
-การเข้าใจทุกข์ในชีวิตมนุษย์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

28 บรรพชิตวิทยา ดังนั้น ลูกๆ จึงได้ตัดสินใจอย่างเด็ดเดี่ยวเข้าไปบวชในบวพระพุทธศาสนา เพราะเห็นว่า ชีวิตนักบวช และคำสอนของพระบรมศาสดาเท่านั้น ที่สามารถทำให้หลุดพ้นจากความทุกข์ทั้งปวงได้ โดยศึกษาจากต้นแบบ คือ พระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสาวกทั้งหลายในกาลก่อน พระพุทธองค์และพระอริยสาวกทั้งหลายนัน แต่เดิมท่านก็เป็นบุคคลธรรมดา มีชีวิตเช่นเดียวกับพวกเรานี้แหละ แต่ท่านมีดวงปัญญาและกำลังบุญบารมีมากมายมหาศาล ท่านมองเห็นว่า ชีวิตในโลกนั้นเป็นทุกข์ มีสุขน้อย แต่มีทุกขมาก ไม่ว่าจะเป็นชนระดับใดก็ตาม จะเป็นชนชั้นล่าง ชั้นกลาง ชั้นสูง เป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี เป็นพระราชมหา-กษัตริย์ ล้วนแต่มีความทุกข์ด้วยกันทั้งสิ้น โดยเฉพาะพระบรมครูของเราก็มาจากตระกูลชั้น พระอริยสาวกทั้งหลายที่มาจากตระกูลช ั้นจากมหาเศรษฐี พ่อค้า คหบดี นักวิชาการก็มาก จากชนชั้นกลาง ชั้นล่าง ก็ไม่น้อย ซึ่งชีวิตของชาวโลกในยุคนั้นก็ไม่ต่างกัน เพราะพื้นฐานของชีวิตนั้นเป็นทุกข์เหมือนกัน ท่านเหล่านั้นได้พิจารณาเห็นว่าชีวิตเป็นทุกข์ จึงคิดหาหนทางที่จะออกจากทุกข์ ด้วยปัญญาของท่านก็พบว่า
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More