การบูชาที่แท้จริงตามวิชชาธรรมกาย วิสุทธิวาจา 2 หน้า 3
หน้าที่ 3 / 108

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้ได้กล่าวถึงความสำคัญของการบูชาแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท ได้แก่ อามิสบูชา ที่เป็นการบูชาด้วยเครื่องสักการะ และปฏิบัติบูชา ซึ่งเน้นการปฏิบัติธรรมตามที่พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ได้สอนไว้ โดยพระองค์สรรเสริญว่าปฏิบัติบูชานั้นดีกว่าอามิสบูชา ตลอดจนการสอนให้ผู้คนมุ่งมั่นในการปฏิบัติธรรมเพื่อประโยชน์ในชีวิต แม้เวลาจะผ่านไปนานเท่าใดก็ยังคงสามารถรับผลได้ ตามหลักคำสอนที่ไม่มีการจำกัดเวลา เช่นเดียวกับคำว่า “อกาลิโก” ที่เป็นการยืนยันว่าใครก็ตามที่ปฏิบัติตามคำสอนนี้จะเห็นผลได้เสมอ ไม่ว่าจะเป็นเมื่อใดก็ตาม

หัวข้อประเด็น

-ความหมายของอามิสบูชา
-ปฏิบัติบูชาและผลลัพธ์
-พระโอวาทของพระมงคลเทพมุนี
-แนวทางการปฏิบัติตามหลักธรรม
-คำว่า ‘อกาลิโก’ และความหมาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) ผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย 3 บูชามี ๒ อย่าง บูชา อามิสบูชา คือ บูชาด้วยเครื่องสักการะอย่างหนึ่ง ปฏิบัติบูชา คือ บูชาด้วยการปฏิบัติอย่างหนึ่ง ในการบูชา ทั้ง ๒ อย่างนี้ พระองค์ทรงสรรเสริญว่า ปฏิบัติ บูชาดีกว่าอามิสบูชา เมื่อคิดทบทวนดูเหตุผลในพระโอวาทข้อนี้แล้ว เราจะเห็นได้ชัดทีเดียวว่า พระองค์มีพระประสงค์จะให้พวกเรามี ความเพียรพยายามปฏิบัติเจริญรอยตามพระองค์ มากกว่า ที่จะ มามัวบูชาพระองค์อยู่ หาไม่พระองค์จะตรัสเช่นนั้นทำไม และโดยนัยอันนี้เองจึงเป็นที่เห็นได้ว่าแม้เวลานี้จะเป็นกาล ล่วงมาช้านาน จากที่พระองค์เสด็จดับขันธปรินิพพานไปแล้ว ก็ไม่ มีอะไรเป็นข้อห้ามว่าผู้ที่ปฏิบัติตามจะไม่ได้รับผลอย่างที่ท่านได้รับ นอกจากคำกล่าวอ้างคนเกียจคร้าน ข้อนี้คำว่า “อกาลิโก” ในบทธรรมคุณนี้เองเป็นหลักฐาน ยัน อยู่ว่าธรรมของพระองค์ ผู้ใดปฏิบัติตามย่อมจะเกิดผลทุกเมื่อ ไม่มี ขีดคั่น พระอริยสาวกทั้งหลายนั้นฐานะเดิมก็เป็นมนุษย์ปุถุชนนี้เอง แม้องค์สมเด็จพระบรมศาสดาก็เช่นกัน มิใช่เทวดาอินทร์ พรหม
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More