พญามาร: ผู้ขวางการทำความดี ประวัติคุณยายอาจารย์ หน้า 59
หน้าที่ 59 / 223

สรุปเนื้อหา

พญามารในพระไตรปิฎกหมายถึงสิ่งที่ขัดขวางการทำความดีเป็นการต่อสู้ระหว่างธรรมกับอธรรม ความดีกับความชั่วในสังคม ทุกข์ทรมานเกิดจากการไม่ดับต้นเหตุของต้นตอความทุกข์ที่มีอยู่ในสัตว์โลก การเข้าใจพญามารจะช่วยให้เราสามารถลดอุปสรรคในการทำความดีได้

หัวข้อประเด็น

-พญามารและการทำความดี
-การต่อสู้ระหว่างธรรมและอธรรม
-ความทุกข์และวิธีการดับทุกข์
-ความสัมพันธ์ระหว่างโลกและสัตว์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

คือ “พญามาร” ซึ่งแปลว่า “ผู้ขวาง” คือขวางการทำความดี ของทุกคน ไม่ให้ทำได้อย่างสะดวกสบาย ในพระไตรปิฎกมีกล่าวถึงพญามารไว้หลายตอน แม้ แต่บางครั้งก็เรียกกันว่า ซาตาน ถ้าจะอธิบายให้เข้าใจง่ายก็คือ มีการต่อสู้กันอยู่ระหว่าง ๒ สิ่งคือ ธรรมกับอธรรม บุญกับบาป ความดีกับความชั่ว ความสว่างกับความมืด ความรู้กับความไม่รู้ ความบริสุทธิ์ กับสิ่งที่เป็นมลทิน ต่อสู้กันอยู่ตลอดเวลา โดยมีอากาศโลก ขันธโลก และสัตวโลก เป็นสมรภูมิ ในศาสนาอื่นก็มีกล่าวถึงพญามาร สัตวโลกได้แก่ เห็น จำ คิด รู้ หรือจิตใจของสรรพสัตว์ ทั้งหลาย ขันธโลกได้แก่ ขันธ์ต่างๆ ของมนุษย์และสัตว์ทั้งปวง รวมทั้งเทวดาทั้งหลาย อากาศโลกได้แก่ สิ่งแวดล้อม ตั้งแต่ อากาศภายในเชื่อมโยงกับบรรยากาศข้างนอกเรื่อยออกไปจน ครอบคลุมสรรพสิ่งทั้งหลาย หลวงพ่อวัดปากน้ำท่านอธิบายเพิ่มเติมว่า ถ้าไม่ได้ไป ดับต้นเหตุของผู้ที่ผลิตความทุกข์ทรมานขึ้นมา ทุกข์ทั้งหลาย ไม่มีวันหมดไปจากสัตว์โลกโดยเด็ดขาด ความเบียดเบียนจะ ไม่มีวันหมดสิ้นไป ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ๕๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More