ข้อความต้นฉบับในหน้า
๓. นั่งขัดสมาธิ ขาขวาทับขาซ้าย มือขวาทับมือซ้าย
นิ้วชี้ขวาจรดนิ้วหัวแม่มือซ้าย นั่งให้อยู่ในท่าที่สบายๆ ไม่ฝืน
ร่างกายมากจนเกินไป ไม่ถึงกับเกร็ง แต่อย่าให้หลังโค้งงอ
หลับตาพอสบายๆ คล้ายกับกำลังพักผ่อน ไม่บีบกล้ามเนื้อตา
หรือว่าขมวดคิ้ว แล้วตั้งใจมั่น ทำใจสบายๆ สร้างความรู้สึก
ให้พร้อมทั้งกายและใจว่า กำลังจะเข้าไปสู่ภาวะแห่งความสงบ
สบายอย่างยิ่ง
๔. ก าหนดนิมิต เป็น ดวงแก้วกลมใส ขนาดเท่า
แก้วตาดำ ใสบริสุทธิ์ ปราศจากราศีหรือรอยตำหนิใดๆ ขาวใส
เย็นตาเย็นใจ ดังประกายของดวงดาว ดวงแก้วกลมใสนี้เรียก
ว่า บริกรรมนิมิต นักสบายๆ เหมือนดวงแก้วนั้นมานิ่งสนิทอยู่
ณ ศูนย์กลางกายฐานที่เจ็ด นึกไปภาวนาไปอย่างนุ่มนวลเป็น
พุทธานุสติว่า “สัมมาอรหัง” หรือค่อยๆ น้อมนึกดวงแก้วกลม
ใสให้ค่อยๆ เคลื่อนเข้าสู่ศูนย์กลางกายตามแนวฐาน โดยเริ่มต้น
ตั้งแต่ฐานที่หนึ่งเป็นต้นไป น้อมด้วยการนึกอย่างเบาๆ สบายๆ
ใจเย็นๆ พร้อมกับคำภาวนา
ผู้ให้กำเนิดวัดพระธรรมกาย ๒๐๙