ข้อความต้นฉบับในหน้า
คำพูดคำจาเหล่านี้ แม้จะลากไปถึง
ตัว ฮ. ก็ยังคงมีอีกเหลือแหล่ ทุกตัวเลือกไม่มีใคร
อยากตอบว่า “ใช่” แม้หลายครั้งจะรู้ว่าเป็น
ความจริง แต่ยังมีผู้หญิงคนหนึ่ง ซึ่งเธอต้องอุทาน
ว่า “ไม่น่าเชื่อ” เหมือนกัน "ไม่น่าเชื่อเลย เพียง
แค่เราชวนเขามา มันจะมีความสุขได้มากขนาดนี้
เป็นความสุขที่บอกไม่ถูกเลย” คนอย่างเธอกำลัง
พบเรื่องราวที่แตกต่าง แต่ว่าผู้หญิงคนนี้ ชวนใคร
ไปทำอะไร แล้วความสุขอย่างที่ว่าเป็นอย่างไร นี่
คือเรื่องราวของคุณครูท่านหนึ่ง ผู้ไม่ยอมแพ้ต่อ
ความชั่วในสังคม และคอยเป็นแสงสว่างให้แก่ศิษย์
ทั้งในห้องเรียนและในชีวิตของพวกเขา
“เครือวัลย์ แสนปัญญา” ด้วยวัย ๔๙ ปีที่
ยังพอมีแรง “เธอ” ซึ่งใคร ๆ ในหมู่บ้านรู้จักกัน
ในชื่อ “ครูยก” เพิ่งจะตัดสินใจยกบ้านของตัวเอง
ให้เป็นบ้านกัลยาณมิตรเมื่อไม่นานนี้
จริง ๆ แล้ว “ครูยก” เพิ่งจบการอบรม
อุบาสิกาแก้ว รุ่น ๑ ล้านคน ของวัดพระธรรมกาย
ไปหมาด ๆ แต่หลังจากได้ทราบว่า พระเดช
พระคุณหลวงพ่อธัมมชโยต้องการให้บรรดา
ยอดหญิงหัวใจพระเช่นเธอ กลับไปทำหน้าที่
ชักชวนคนรอบข้างให้มาทำความดีร่วมกัน ทำให้
เธอกลายเป็นเจ้าของเรื่องราวนักพัฒนาตัวอย่าง
บนเส้นทางวิถีพุทธ
“พอจบโครงการบวชอุบาสิกาแก้วปุ๊บ ก็
เปิดบ้านกัลยาณมิตรปั๊บ รีบออกประชาสัมพันธ์
เชิญชวนทั้งกลุ่ม อสม. แม่บ้าน ครูประจำชั้น
นักเรียน ผู้ใหญ่บ้าน กำนัน นายกเทศมนตรี
รวมถึงคณะสงฆ์วัดใกล้บ้านด้วย” เธอยอมใช้เวลา
ที่ควรจะทำอะไรเพื่อตัวเอง ไปเป็นแสงสว่างแก่
ผู้อื่นอย่างสมัครใจ แม้จะดูเหมือนหว่านแหเผื่อจะ
พบคนดี ๆ ที่คุยกันรู้เรื่อง แต่เอาเข้าจริงเธอเอง
แทบไม่เชื่อเลยว่าทุกที่ที่ไป ทำไมถึงได้รับการ
ต้อนรับและมีแต่คนให้ความร่วมมือ
เธอเปิดบ้านกัลฯ ทำไม และทุกคนมอง
เห็นอะไรจากการกระทำนั้น อาจเป็นคำถามของ
คนที่ไม่เคยรู้จักบ้านกัลยาณมิตรมาก่อน แต่ทว่า
คำอธิบายต่าง ๆ อาจมีภาษีเป็นรอง เมื่อเทียบกับ
ประสบการณ์จริง “ทุกวันพฤหัสฯ จะมีเด็ก
มาปฏิบัติธรรมกันล้นหลามจนพื้นที่ในบ้าน
ไม่เพียงพอ ต้องออกไปปฏิบัติธรรมนอกบ้าน