การสอนและการเปลี่ยนแปลงในชีวิตครู วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2554 หน้า 43
หน้าที่ 43 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เล่าถึงการเปลี่ยนแปลงของครูที่เคยสอนแบบผ่านไปวัน ๆ จนได้รับรู้คุณค่าของการสร้างคนดีให้กับสังคมหลังจากได้เข้าร่วมโครงการอบรมอุบาสิกาแก้ว เมื่อเปิดบ้านกัลยาณมิตร สังคมได้เห็นการเปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจน ทั้งจากการสอนเด็ก ๆ ให้มีคุณธรรม และการชักชวนผู้คนไปสู่สิ่งดี ๆ เพื่อสร้างบารมีและความสุขในชีวิต

หัวข้อประเด็น

-การศึกษาและการพัฒนาเด็ก
-การเปิดบ้านกัลยาณมิตร
-การสร้างคนดีในสังคม
-การพัฒนาตนเองและผู้อื่น
-ความสุขจากการให้และการแบ่งปัน

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เถียงพ่อเถียงแม่ ด่าพ่อด่าแม่ ตอนนี้ไม่เถียง อีกแล้ว กลายเป็นคนละคน น่ารัก ว่านอน สอนง่าย และเด็ก ๆ ก็ยังรู้จักการทิ้งขยะให้เป็นที่ ไม่ทิ้งข้าวของโดยเปล่าประโยชน์เหมือนเมื่อก่อน พ่อแม่เด็กทุกคนที่ส่งลูก ๆ มาที่บ้านกัลฯ แห่งนี้ ต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า ...สุดยอด โครงการนี้ ดีจริง ๆ... พอได้ยินแล้วก็มีความสุข ปลื้มมาก รู้สึกว่าสิ่งที่เราทำไม่ได้สูญเปล่า แต่กลับสร้างคนดี ให้แก่สังคม” เช้าไปสอน โดย แต่ก่อน ตอนสอนหนังสือเธอก็เหมือนครู ทั่ว ไป คือ สอนไปแบบวัน ๆ ๆ เย็นกลับบ้าน ทำอย่างนี้ทุกวัน ทำไปเรื่อย ไม่เคยรู้ว่า คุณค่าของมือที่เปื้อนชอล์กนั้นเป็น อย่างไร คำว่าครูที่แท้จริงหมายความว่าอย่างไร แต่หลังจากเข้าอบรมอุบาสิกาแก้วรุ่นล้านและเปิด บ้านกัลยาณมิตรแล้ว เธอก็ได้เจอกับความคิดอีก ด้าน “ชีวิตมันไม่ใช่แค่ให้ผ่านไปวัน ๆ นะคะ แต่ จะทำอย่างไรให้แต่ละวันที่ผ่านไป เป็นวันเวลาที่มี คุณค่าด้วย” ทุกวันนี้ ถ้าครูยกเจอใคร หรือมีใครมา สวดมนต์นั่งสมาธิที่บ้าน ครูยกจะรีบทำหน้าที่ กัลยาณมิตรเชิญชวนให้พวกเธอไปเข้าอบรม อุบาสิกาแก้วรุ่นต่อไปทันที ซึ่งเธอเปิดเผยว่าชวน ได้ ๑๐ คนแล้ว และยังชวนผู้ชายไปบวชแบบตาม มาติด ๆ ได้อีก ๓ คน กล่าวได้ว่า เธอกำลังเอา บันทึกจากใจผู้เปิดบ้านกัลยาณมิตร เวลาที่เสียไปให้กลายเป็นกำไรชีวิต “จะไม่หยุด เพียงเท่านี้อย่างแน่นอน แต่จะชวนต่อไปทุกวันให้ ได้มากกว่านี้อีกค่ะ เพราะอยากให้คนอื่น ๆ ได้มี โอกาสไปสัมผัสสิ่งดี ๆ จากการบวช อยากให้เขา ได้รับความสุขเหมือนอย่างที่เราได้รับ” ความสุข จากการให้ และการได้เห็นสังคมรอบ ๆ ตัว เปลี่ยนแปลงจากมือของตัวเอง กำลังตอกย้ำให้เธอ เข้าใจเส้นทางของการสร้างบารมีมากยิ่งขึ้น และ มุ่งหน้าอยู่บนถนนสายนี้ต่อไปให้ถึงที่สุด ตอนนี้ เธอพบว่า การชักชวนคนอื่นให้ทำความดี กำลัง ย้อนกลับมาทำให้ชีวิตครอบครัวของตัวเองดีขึ้น พ่อบ้านก็ดีขึ้น และตัวเองก็มีความสุข ซึ่งเธอสรุป ๆ ว่า "มีสิ่งดี ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา สั้น ๆ ง่าย ๆ เลยค่ะ” จะทำอย่างไร ถ้าทุกคนพากันคิดว่า สังคมเป็นของเรา แต่การแก้ไขปัญหาสังคมไม่ใช่ เรื่องของเรา จากเรื่องราวเล็ก ตรงนี้ ๆ อาจจุด ประกายให้ผู้อ่านอยากกลายเป็น “คนบ้านกัลฯ” เหมือนอย่างเธอ หรืออย่างน้อยก็ได้มองเห็นว่า สังคมเรายังคงมีแง่มุมดี ๆ ที่น่าค้นหาอยู่อีกมาก ขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองหาเป็นแบบอย่างหรือจะอยู่ เฉย ๆ หากเป็นเช่นนั้น ความสุขที่หลายคนค้นพบ และเราเองก็คิดว่าดี คงเป็นความสุขที่เราไม่มี โอกาสได้สัมผัสเลยตลอดชีวิต “สอนหนังสือแบบวัน ๆ เข้าไปสอน เป็นกลับบ้าน ทำอย่างนี้ทุกวัน โดย ไม่เคยรู้ว่า คุณค่าของมือที่เปื้อนชอล์กนั้นเป็นอย่างไร แต่หลังจากได้เปิด บ้านกัลยาณมิตรแล้ว จึงได้รู้ว่าการที่ทำให้เด็กเป็นคนดี มีความรู้คู่คุณธรรม คือสิ่งที่ทำให้ครูอย่างเรามีความสุขใจและภูมิใจมากที่สุด" คุณครู ก (กัลฯ เครือวัลย์ แสนปัญญา)
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More