ข้อความต้นฉบับในหน้า
เมื่อสังคมได้รับประโยชน์จากการสร้างมิตรแท้ของวัดเพิ่มมากขึ้นเท่าใด วัดจึงไม่ได้
มีฐานะแค่เป็นโบราณสถานที่เก็บของเก่าประจำท้องถิ่นเท่านั้น แต่กลายเป็น “ศูนย์กลาง
สถาบันการศึกษาประจำท้องถิ่น” ไปโดยอัตโนมัติ โดยทำหน้าที่วางรากฐานศีลธรรมลงไป
ในจิตใจคนในท้องถิ่นนั้น ๆ ในทุกระดับการศึกษา ทุกระดับฐานะความเป็นอยู่ เพื่อให้
คนในท้องถิ่นนั้น ๆ ประกอบสัมมาอาชีพด้วยความสงบ ต่างดำเนินชีวิตร่วมกันอย่างมี
ความสุข และเป็นคนดีของสังคม พร้อมที่จะโอบอุ้มหอบหิ้วกันและกันบำเพ็ญประโยชน์เพื่อ
ส่วนรวม ซึ่งจะบังเกิดเป็นบุญกุศลต่อ ๆ ไปอีก
วัดเป็นรากฐานการพัฒนาบ้านเมือง
ชาวพุทธในยุคก่อน แม้ไม่ได้มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยเหมือนยุคนี้ แต่จับประเด็น
ความเจริญรุ่งเรืองของสังคมได้ถูกต้องว่า การพัฒนาที่แท้จริงต้องเริ่มจากการพัฒนาใจ
ของประชาชนส่วนใหญ่ให้ละอายความชั่ว กลัวความบาป รักบุญกุศลยิ่งด้วยชีวิต จึงใช้
วัดเป็นศูนย์กลางการปลูกฝังศีลธรรมให้กับประชาชนทั้งบ้านทั้งเมือง
ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะทำให้วัดเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชน ประจำท้องถิ่น
ประจำประเทศแล้ว ยังทำให้ประเทศที่นับถือพระพุทธศาสนาในยุคนั้น กลายเป็นดินแดน
ศักดิ์สิทธิ์ประจำทวีปขึ้นมาทันที
แม้แต่ประเทศไทยเองก็เช่นกัน ครั้งหนึ่งก็เคยเป็นดินแดนทองของพระพุทธศาสนา
ที่เต็มไปด้วยความศักดิ์สิทธิ์ของวัดวาอารามที่น่าเลื่อมใส การทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา
ถือเป็นเรื่องปกติของคนทั้งบ้านทั้งเมือง อบายมุขก็อับเฉา ซบเซา การสร้างวัดวาอาราม
เพื่อเป็นโรงเรียนสอนการศึกษาและศีลธรรมประจำหมู่บ้าน ถือเป็นเรื่องปกติที่ต้องช่วยกัน
หมู่บ้านใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้นแต่ละแห่งจะต้องมีวัดใหม่ ๆ ประจำหมู่บ้านเกิดขึ้นด้วยเสมอ
ดังปรากฏหลักฐานคือ วัดวาอารามที่สร้างขึ้นมาเป็นเวลาหลายร้อยปี ซึ่งมีอยู่จำนวนหลาย
หมื่นวัดที่หลงเหลืออยู่ตามหมู่บ้านหลายหมื่นแห่งตราบถึงทุกวันนี้
ทั้งนี้ เพราะเมื่อคนส่วนใหญ่ในบ้านเมืองเป็น “ผู้มีศีลธรรม” แล้ว แม้มิใช่ญาติโดย
สายโลหิต ย่อมกลายเป็น “มิตรแท้” ต่อกัน
เมื่อผู้คนทั้งบ้านทั้งเมืองเป็น “มิตรแท้” ต่อกันโดยญาติธรรมแล้ว ย่อมทำในสิ่งที่ตรง
กับ “หัวใจการศึกษา” ที่กล่าวว่า
๗๗