บทบาทของวัดในการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2554 หน้า 78
หน้าที่ 78 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบทบาทของวัดในทางการศึกษาและการพัฒนาสังคม วัดเป็นสถานที่สำคัญในการสอนศีลธรรมให้กับชุมชน ช่วยสร้างความสามัคคีและบุญกุศลร่วมกัน การมีอาสาสมัครในวัดมีส่วนช่วยในการพัฒนาท้องถิ่นและสร้างคนดีในสังคม ซึ่งส่งผลให้เกิดความเจริญรุ่งเรืองในชุมชน โดยการสอนศีลธรรมของพระภิกษุและการเข้าร่วมกิจกรรมในวัดตั้งแต่เด็กเป็นสิ่งสำคัญในการสร้างเชื่อมโยงทางพลังกลางเพื่อพัฒนาท้องถิ่นสู่ความพอใจในชีวิต ทั้งนี้ ความรู้ทางธรรมมีความสำคัญในการช่วยให้คนเป็นคนดีและสร้างมิตรแท้ในสังคม นอกจากนี้ การทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาชุมชนที่มีใจรักบุญกุศล จะส่งผลให้เกิดความสงบสุขในสังคมและสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืนในท้องถิ่น

หัวข้อประเด็น

-บทบาทของวัดในชุมชน
-การศึกษาและศีลธรรม
-การสร้างบุญร่วมกัน
-ความสำคัญของอาสาสมัคร
-การพัฒนาสังคมด้วยศีลธรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

๗๖ วัดเป็นรากฐานการศึกษาและสังคมสงเคราะห์ประจำท้องถิ่น นับตั้งแต่โบราณกาลมา ชาวพุทธต่างตระหนักว่า 6). คนเราอยู่ลำพังคนเดียวไม่ได้ ต่างต้องพึ่งพาอาศัยกันและกัน ๒. ความรู้ที่เกิดขึ้นกับคนพาลนั้น ย่อมมีแต่นำความวิบัติเสียหายมาสู่บ้านเมือง เพราะต่างใช้ความรู้ไปในทางที่ผิด en. รวดเร็วมาก บุญเท่านั้น เป็นที่พึ่งอันแท้จริงทั้งโลกนี้และโลกหน้า การสร้างบุญเป็นทีมย่อมได้บุญมาก ชักนำให้เกิดความสามัคคีของชุมชนได้ ชาวพุทธจึงนิยมสร้างวัดไว้ประจำเกือบทุก ๆ ชุมชน ในชุมชนใหญ่ ๆ สร้างไว้ถึง ๓ - ๔ วัด มีทั้งวัดที่สร้างโดยกษัตริย์ประจำแคว้น เศรษฐีประจำเมือง ชาวบ้านประจำถิ่น เพราะเหตุนี้ การมีวัดเป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น การมีพระภิกษุเป็น ครูสอนศีลธรรมประจำท้องถิ่น การฝึกหัดบุตรหลานให้รู้จักร่วมกันสร้างบุญใหญ่ด้วยการ ทำทาน รักษาศีล เจริญภาวนา ร่วมกันปฏิบัติศาสนกิจต่าง ๆ ที่วัดตั้งแต่หัวเท่ากำปั้น จึงเป็น เรื่องจำเป็น ศาสนกิจเหล่านี้ ยิ่งมีมาก ยิ่งทำมากเท่าใด ยิ่งเป็นเหมือนหลักประกันความร่มเย็น เป็นสุขของครอบครัว ชุมชน สังคมในท้องถิ่นนั้น ๆ มากเท่านั้น เพราะความรู้ทางธรรม ย่อมทำให้คนเป็นคนดี บ้านเมืองใดที่มีคนดีมาก บ้านเมืองนั้นย่อมมี “มิตรแท้” มากกว่า “มิตรเทียม” มีคนใจบุญมากกว่าคนใจบาป เมื่อท้องถิ่นทุกแห่งมีมิตรแท้อยู่เป็นจำนวนมาก อาสาสมัครที่จะทำงานด้วยความ เสียสละเพื่อท้องถิ่น ด้วยหัวใจรักบุญกุศลย่อมมีอยู่เป็นจำนวนมาก ความทุ่มเทชีวิตจิตใจ ด้วยความรักบ้านเกิดเมืองนอน จึงกลายเป็นแรงผลักดันให้เกิดการพัฒนาบ้านเมืองไปสู่ ความเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีทั้งความเจริญก้าวหน้าในการประกอบสัมมาอาชีพ และความร่มเย็น เป็นสุขในการอยู่ร่วมกันด้วยศีลธรรมประจำใจ วัดในท้องถิ่นใดมีศักยภาพในการสร้างคนในชุมชนให้เป็น “มิตรแท้” วัดแห่งนั้นย่อม กลายเป็น “ศูนย์กลางการสร้างอาสาสมัครพัฒนาท้องถิ่น” ไปโดยอัตโนมัติ วัดยิ่งมีอาสาสมัครประจำท้องถิ่นอยู่มากเท่าใด ย่อมกลายเป็น “ศูนย์กลางการสร้าง มิตรแท้ให้แก่สังคม” ไปโดยอัตโนมัติ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More