สำรวจวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ของเนปาล วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2554 หน้า 64
หน้าที่ 64 / 124

สรุปเนื้อหา

เนปาลเป็นประเทศที่มีเมืองหลวงคือกรุงกาฐมาณฑุ ซึ่งเป็นที่ตั้งของมรดกโลก 7 แห่ง โบราณสถานที่งดงามต่างๆ รวมถึงวัดและเจดีย์ที่มีสถาปัตยกรรมสวยงามและละเอียดอ่อน การผสมผสานระหว่างศาสนาฮินดูและพุทธศาสนาอย่างกลมกลืนทำให้เนปาลมีภาพลักษณ์ที่โดดเด่น วัฒนธรรมและประเพณีของชาวเนปาลมีความแตกต่างกันไปตามภูมิศาสตร์และมีอิทธิพลมาจากประเทศเพื่อนบ้าน เช่น จีนและอินเดีย.

หัวข้อประเด็น

-เนปาล
-กรุงกาฐมาณฑุ
-มรดกโลก
-วัฒนธรรมเนปาล
-ศาสนาฮินดู
-ศาสนาพุทธ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

เนปาลมีเมืองหลวง คือ กรุงกาฐมาณฑุ บริเวณรายรอบเมืองเป็นที่ตั้งของโบราณสถาน สำคัญมากมาย จนได้รับการยกย่องให้เป็นมรดก โลกถึง ๗ แห่ง สถาปัตยกรรมอันงดงาม และการ ตกแต่งเจดีย์รูปทรงครึ่งวงกลม มีรูปดวงตา เห็นธรรมทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปที่ ทำจากทองเหลืองและหินขัดสวยงาม วัดและสถูป ก่อสร้างจากงานไม้แกะสลักอันประณีตบรรจง แม้แต่งานช่างเหล็กและงานปั้นหินก็ทำได้อย่าง ละเอียดอ่อนไม่แพ้กัน แสดงถึงความเชื่อถือศรัทธา อย่างแรงกล้าของผู้คนชาวเนปาล ลักษณะเด่น เหล่านี้ทำให้ประเทศเนปาลมีภาพลักษณ์ในด้าน วัฒนธรรมที่ยิ่งใหญ่และวิจิตรงดงาม ภูมิประเทศตั้งอยู่ในหุบเขาที่มีภูเขาล้อม รอบทุกด้าน จึงเรียกขานกันว่า “คีรีนคร” หรือ เมืองแห่งขุนเขา พื้นที่ราบตรงกลางคล้ายแอ่ง กระทะ มีชัยภูมิเหมาะสมในการตั้งถิ่นฐานบ้าน เรือนมาหลายพันปี วัฒนธรรมประเพณีของชาว เนปาลในแต่ละท้องถิ่นนั้น มีความแตกต่างกันไป ตามลักษณะทางภูมิศาสตร์ เช่น บริเวณที่ติดกับ จีนด้านทิเบตจะคล้ายกับทิเบต ส่วนที่อยู่ติดกับ อินเดียก็จะคล้ายอินเดีย เป็นต้น หากใครได้ไปเยือนเนปาล ต่างพูดเป็น เสียงเดียวกันว่า เนปาลคือดินแดนวัฒนธรรม ในม่านหมอก ที่มีความโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ ๆ เพราะได้รับการผสมผสานอิทธิพลของศาสนาฮินดู และศาสนาพุทธไว้ด้วยกันอย่างกลมกลืน ไม่ว่าเรา จะเดินไปบริเวณไหนของเนปาล จะพบเห็นรูปแกะ สลักเทพเจ้าฮินดูกับพระโพธิสัตว์หรือพระพุทธเจ้า อยู่เคียงกันตามสถานที่ต่าง ทั่วไป โดยไม่มี ความขัดแย้งแบ่งแยกเหมือนในหลาย ๆ ประเทศ ย้อนไปเมื่อกว่า ๕๕๐ ปี พระพุทธศาสนา ในดินแดนแห่งนี้เกือบกลายเป็นเพียงเรื่องเล่า ใน อดีตประเทศเนปาลเคยเป็นส่วนหนึ่งของประเทศ อินเดีย ทำให้ในปัจจุบันดินแดนประสูติของ พระสมณโคดมสัมมาสัมพุทธเจ้า ณ ลุมพินีวัน ๖๒
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More