บทบาทของวัดในสังคมไทย วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน มีนาคม พ.ศ.2554 หน้า 81
หน้าที่ 81 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้กล่าวถึงบทบาทของวัดในสังคมไทย โดยเน้นถึงความสำคัญของวัดในด้านการอบรมศีลธรรม การสร้างความเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านเศรษฐกิจและจิตใจของประชาชน รวมถึงการทำลายความแตกแยกในสังคมเมื่อเกิดอบายมุข นอกจากนี้ยังกล่าวถึงความเชื่อมโยงระหว่างจำนวนวัด จำนวนพระภิกษุ และการประพฤติปฏิบัติธรรมของชาวพุทธ รวมถึงบทบาทของเศรษฐีและคฤหบดีในการพัฒนาวัดให้เหมาะสมกับความต้องการของประชาชนในท้องถิ่น เพื่อให้ชุมชนมีชีวิตสงบสุขและเจริญก้าวหน้าในด้านศีลธรรมและเทคโนโลยี.

หัวข้อประเด็น

-ความสำคัญของวัดในสังคม
-ศีลธรรมและความเจริญรุ่งเรือง
-พระพุทธศาสนาในชีวิตประจำวัน
-การพัฒนาวัดในชุมชน
-บทบาทของเศรษฐีในการเผยแผ่พระพุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

บ้านเมืองในยุคใดที่มีวัดจำนวนมากทั้งน้อยและใหญ่ ชูช่อฟ้าไสว ตั้งใจอบรมสั่งสอน ประชาชน พระภิกษุก็ท่องบ่นพระธรรมคัมภีร์กันทั้งวัด ย่อมแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง ทั้งเศรษฐกิจและจิตใจของผู้คนในประเทศนั้นว่ามีอยู่มากมหาศาลขนาดไหน ศัตรูหมู่ร้าย ใด ๆ ย่อมครั่นคร้าม ในทางตรงกันข้าม บ้านเมืองในยุคใดที่มีวัดเสื่อมโทรมรกร้างอยู่มาก ย่อมแสดงถึง ความทรุดโทรมตกต่ำทางด้านศีลธรรม การทำมาหากินย่อมฝืดเคือง มหาชนย่อมจมอยู่ ในอบายมุขทั้งบ้านทั้งเมือง บ้านเมืองใดที่มีอบายมุขระบาด บ้านเมืองนั้นย่อมมีแต่ความแตกแยก ประชาชน ย่อมไร้ศีลธรรม แม้อยู่ในครอบครัวเดียวกันก็ประพฤติต่อกันเยี่ยงศัตรู อาณาจักรใหญ่ ๆ จึงถึงกาลล่มสลายหายไปจากแผนที่โลกครั้งแล้วครั้งเล่า ดังมีหลักฐานปรากฏอยู่ใน ประวัติศาสตร์โลก ดังนั้น การสร้างวัดทั้งน้อยและใหญ่ ทั้งใกล้และไกลบ้านเมือง ให้เจริญรุ่งเรือง เหมาะแก่การประพฤติปฏิบัติธรรมตามอริยประเพณี จึงเป็นเรื่องที่ชาวพุทธทุกคนต้อง ศึกษาให้เกิดความเข้าใจอย่างถ่องแท้ จะได้ช่วยกันสร้าง ช่วยกันพัฒนา ช่วยกันรักษาวัด ประจำท้องถิ่นให้เป็นโรงเรียนสอนศีลธรรมที่เหมาะสมกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นอยู่ทุกวัน ทั้งนี้เพื่อให้ครอบครัว ชุมชน สังคมในท้องถิ่นนั้น ๆ มีแต่ความสงบสุขร่มเย็น ลูกหลาน ชาวพุทธในย่านนั้น ๆ ก็จะได้เป็นบัณฑิตนักปราชญ์ ผู้มีความรู้ ความสามารถ มีศีลธรรม ประจำใจ และย่อมนำความรู้วิชาการทางโลกไปสร้างความดีให้เกิดความเจริญก้าวหน้า ทางด้านเทคโนโลยี และความเจริญรุ่งเรืองของศีลธรรมในจิตใจ โดยไม่ยอมให้สถาน ประกอบอบายมุขทั้งหลายเป็นแหล่งเพาะคนพาล ซึ่งเป็นต้นตอแห่งมิตรเทียม นำความวิบัติ เสียหายมาทำลายความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้าของท้องถิ่นและประเทศชาติ การเพิ่มขึ้นของจำนวนวัด การเพิ่มขึ้นของจำนวนพระภิกษุ การเพิ่มขึ้นของจำนวน ชาวพุทธในแต่ละท้องถิ่นนั้น จึงต้องอาศัยกำลังของเศรษฐีและคฤหบดีประจำท้องถิ่นใน การทำงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาทั้งในเชิงกว้างและเชิงลึกควบคู่กันไป (อ่านต่อฉบับหน้า) ๗๙
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More