ข้อความต้นฉบับในหน้า
๘๒
ทันโลกทันธรรม
เรื่อง : พระมหาสมชาย ฐานวุฑโฒ (M.D., Ph.D.) จากรายการทันโลกทันธรรม ออกอากาศทางช่อง DMC
๖ ทักษะ
การทํางาน
ในอนาคต
ochrym
เริ่มด้วยที่มาที่ไปของเรื่องนี้ก่อน ถ้าเราแบ่ง
พัฒนาการของโลกออกเป็นยุค ๆ จะแบ่งได้ ๓ ยุค
คือ ยุคสังคมเกษตรกรรม (คลื่นลูกที่ ๑) ยุคสังคม
อุตสาหกรรม (คลื่นลูกที่ ๒) และยุคสังคมข้อมูล
ข่าวสาร (คลื่นลูกที่ ๓)
ในแต่ละยุค วิถีชีวิตของคนเราและเรื่องราว
ต่าง ๆ จะเปลี่ยนแปลงไปตามอาชีพการงานที่ทำ
เช่น ในสังคมยุคเกษตรกรรม อำนาจที่เป็นใหญ่ใน
ยุคนี้ คืออำนาจกำลังกล้ามเนื้อ เพราะว่าระบบ
เศรษฐกิจยังไม่ซับซ้อน คนทำไร่ไถนากันเป็นหลัก
คนไหนแข็งแรง คนนั้นก็จะทำการงานได้ดี ความรู้
ต่าง ๆ ที่เกิดในครอบครัวเกษตรกรก็เป็นสิ่งที่ใคร ๆ
พอจะทำได้ ไม่แตกต่างกันมากนัก ในยุคนี้ฝีมือ
ก็มีความสำคัญ แต่ไม่ถึงกับต่างกันมากมาย ประเทศ
ไหนจะเป็นมหาอำนาจก็ต้องมีกำลังกล้ามเนื้อมาก
คือมีทหารมาก ๆ มีความแข็งแรงมาก
พอถึงคลื่นลูกที่ ๒ คือยุคอุตสาหกรรม ยุคนี้
มีปัจจัยใหม่แทรกเข้ามาคือเรื่องทุน เพราะว่าใคร
จะสร้างโรงงานได้ก็ต้องใช้เงินทุนจำนวนมาก และ
ถ้าสร้างเสร็จแล้วก็จะมีอำนาจขึ้นมาจากเงิน ยุคนี้
ใครมีเงิน คนนั้นก็จะมีอำนาจ สามารถสร้างผลผลิต
และคุมกำลังกล้ามเนื้อได้ ประเทศที่มีกำลังทหาร
เข้มแข็ง แต่ถ้าเศรษฐกิจไม่ดีก็ไปไม่รอด เหมือน
สภาพโซเวียตที่เคยเป็นอภิมหาอำนาจของโลกคู่
กับอเมริกา พอเศรษฐกิจไปไม่ไหว ยังต้องแตกออก
เป็น ๑๕ ประเทศโดยไม่ต้องรบกับใครเลย
แต่พอถึงคลื่นลูกที่ ๓ คือยุคข้อมูลข่าวสาร
ก็เกิดอำนาจใหม่อีกอำนาจหนึ่งขึ้นมา คืออำนาจ
ของความรู้ จริง ๆ แล้วในแต่ละยุค เช่น ในยุค
สังคมเกษตรกรรม เงินทุนก็มีความสำคัญ แต่พอถึง
ยุคอุตสาหกรรม ความสำคัญของเงินทุนเพิ่มมากขึ้น