ข้อความต้นฉบับในหน้า
เยอะมาก ทำให้แต่ละคนมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ เพิ่ม
ศักยภาพของตัวเองได้แตกต่างกันมาก คนไหนรู้จัก
หาความรู้ ศักยภาพตัวเองก็จะเพิ่มมากขึ้น และ
พอมีความรู้แล้ว ช่องทางการถ่ายทอดออกไปก็มาก
ในยุคเกษตรกรรม หนังสือพิมพ์ก็ไม่มี วิทยุ
โทรทัศน์ก็ไม่มี การถ่ายทอดความรู้ต้องใช้วิธีพูด
เท่านั้น จะเขียนหนังสือก็ยังไม่มีโรงพิมพ์ ต้องเขียน
ทีละหน้า แล้วก็เอาไปลอกทีละหน้า กว่าจะลอกได้
๑๐ สำเนาก็หมดเวลาแล้ว หรือถ้าอยากจะพูด ก็
ไม่มีไมโครโฟน พูดแล้วคนฟังก็ฟังได้แค่กลุ่มเดียว
เพราะฉะนั้นความรู้จึงขยายออกไปถึงคนอื่นได้อย่าง
จำกัด แต่ในยุคปัจจุบันแค่เขียนเว็บบล็อก (Web
Blog) ขึ้นมา ถ้าทำดี ๆ ก็มีคนมาดูเป็นแสนเป็น
ล้านคน หรือจะเขียนบทความไปลงในสื่อต่าง ๆ ก็ได้
จะพิมพ์เป็นเล่มเองก็ได้ ถ้าเขียนดี ๆ ขนาดเป็น
เบสต์เซลเลอร์ (Best Seller) พิมพ์เป็นพันเป็นหมื่น
เล่มก็ยังได้ ช่องทางที่เราจะเอาความรู้ ความคิดเห็น
ของเราออกไปสู่สาธารณะมีมาก บทบาทของความรู้
จึงสำคัญมากขึ้น ๆ ในยุคปัจจุบัน พร้อม
เทคโนโลยีการสื่อสารที่พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
ๆ
กับ
ฉะนั้น เขาจึงกล่าวว่า ทักษะของนักทำงาน
ที่ดีในโลกยุคปัจจุบันควรจะมี 5 ข้อ คือ ๑. อ่าน
๒. ฟัง ๓. คิด ๔. พูด ๕. เขียน 5. ทำ
๒ ข้อแรกเป็นที่มาของความรู้ คืออาศัยการ
ฟังกับการอ่านเป็นการรับข้อมูลเข้ามา ข้อ ๓ รู้จัก
คิด รู้จักตรึกตรอง คือรู้จักย่อยสิ่งที่อ่านและฟังด้วย
การคิด ข้อที่ ๔ และ ๕ คือ การถ่ายทอดความรู้
ออกไปด้วยการพูดและการเขียน ข้อสุดท้าย คือ
การลงมือทำา รวมเป็น 5 ทักษะ
ความจริงยังมีทักษะอีกหลายอย่าง เช่น ทักษะ
ในการทำงานร่วมกัน เป็นต้น และเนื่องจากตอนนี้
มีข้อมูลให้รับรู้มากมาย อย่างข้อมูลในอินเทอร์เน็ต
ใช้เวลาหมื่นปีก็อ่านไม่หมด ในแต่ละวันยังมีข้อมูล
ใหม่เพิ่มขึ้นมาตลอด เราจึงต้องมีทักษะในการเลือก
รับข้อมูลด้วย เพราะเรามีเวลาจำกัด อย่าไปเสียเวลา
กับข้อมูลแบบแฟชั่นที่ไม่นานก็เชย ข้อมูลจำพวกนี้
แค่กวาดสายตาผ่านไปให้พอรู้ว่าเกิดอะไรขึ้นในสังคม
ก็พอ แต่เรื่องที่เราควรให้ความสำคัญ คือข้อมูลที่จะ
ทำให้เข้าใจคลื่นการเปลี่ยนแปลงของโลกว่าขณะนี้
กำลังเกิดอะไรขึ้น หรือทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้นมา
ปรากฏการณ์อย่างนี้จะทำให้เกิดอะไรในอนาคต เมื่อ
ใช้ความคิดแล้วก็จะทำให้เราเข้าใจการเปลี่ยนแปลง
ของโลก ทำให้เรามีข้อมูลมากกว่าคนอื่น ถึงคราว
จะทำงานก็จะได้เปรียบ
เพราะฉะนั้นเราจะต้องรู้จักเลือกรับข้อมูลให้ดี
แล้วอย่าไปแยกกระบวนการอ่าน การฟัง กับการคิด
ออกจากกัน จริง ๆ แล้วทั้งหมดต้องต่อเนื่องกัน คือ
ระหว่างที่รับข้อมูลเราต้องคิดไปด้วย ตรงนี้เขาว่า
อย่างนี้จริงหรือเปล่า และนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูลเก่า
ในใจเราทันที คำถาม ๒ คำถามที่ควรมีในขณะที่
รับข้อมูล คือ
1. Why? ทำไมถึงเกิดเรื่องนี้ขึ้นมา เป็นการ
สาวไปหาเหตุ
2. What will happen? สิ่งนี้จะทำให้เกิด
อะไรขึ้นในอนาคต คือเห็นอย่างนี้แล้ว พยากรณ์
อนาคตได้เลยว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ถ้าเรามีคำถาม ๒ คำถามนี้อยู่เสมอ จะทำให้
เราได้ฝึกคิด แล้วอย่าเชื่อข้อมูลที่เขาให้ทั้งหมด เพราะ
เราจะถูกเขาชักจูงได้ง่าย ถ้าเราจะเป็นนักทำงาน
ที่มีประสิทธิภาพจริง ๆ จะต้องสามารถแยกแยะ
ข้อมูลได้ เมื่อรับข้อมูลมาแล้ว ก็ต้องรู้จักย่อย แล้ว
เอาข้อมูลใหม่ไปสัมพันธ์กับข้อมูลเก่า หากเรามีการ
คิดและเชื่อมโยงข้อมูลแล้ว จะทำให้กระบวนการรับ
ข้อมูลโดยการอ่านหรือการฟัง กับกระบวนการย่อย
562