จากการเป็นผู้ได้สู่การเป็นผู้ให้ วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 หน้า 27
หน้าที่ 27 / 124

สรุปเนื้อหา

บทความนี้เสนอมุมมองเกี่ยวกับความสุขที่เกิดจากการปฏิบัติธรรมซึ่งส่งผลให้ผู้ปฏิบัติปรารถนาที่จะให้ความสุขนี้แก่ผู้อื่น โดยมีตัวอย่างของอุบาสิกาแก้วที่พูดถึงความสุขที่แท้จริงและการสร้างสันติสุขในสังคม อนาคตของพระพุทธศาสนาจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อเราเห็นคุณค่าของการให้และการฟื้นฟูศีลธรรม ความหวังของโลกอยู่ในมือของอุบาสิกาแก้วหน่ออ่อน ที่จะเป็นผู้นำสู่สันติสุขของมนุษยชาติ.

หัวข้อประเด็น

-การปฏิบัติธรรม
-ความสุขและการแบ่งปัน
-อุบาสิกาแก้วและสันติภาพ
-ศีลธรรมในอนาคต
-การเปลี่ยนแปลงโลก

ข้อความต้นฉบับในหน้า

จากการเป็น “ผู้ได้” สู่การเป็น “ผู้ให้” ความสุขอันบริสุทธิ์ที่ได้รับจากการประพฤติ ปฏิบัติธรรม เป็นสิ่งที่บุคคลใดได้รับแล้วย่อมจะก่อ ให้เกิดความรู้สึกของผู้ให้ ทั้ง ๆ ที่ปกติมนุษย์ย่อม หวงแหนในสิ่งที่นำมาซึ่งความสุขของตน แต่ครั้น เมื่อเข้าถึงประสบการณ์ภายในอันเกิดจากการ ปฏิบัติธรรมแล้ว ต่างล้วนปรารถนาอยากให้ชาวโลก ทั้งหลายมีความสุขเช่นตนเองบ้าง ดังเช่น อุบาสิกา แก้วท่านหนึ่งกล่าวให้เห็นเป็นบทสรุปอันงดงามว่า “ดิฉันรู้สึกปลื้มและดีใจมากที่ครั้งหนึ่งในชีวิต ได้อบรมอุบาสิกาแก้ว คำว่าอุบาสิกาแก้ว เป็นคำที่ มีเกียรติและมีคุณค่าสำหรับดิฉันมาก โครงการนี้ ทำให้ดิฉันได้พบความสุขที่แท้จริง เป็นความสุขที่ ดิฉันสามารถสร้างได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องการสิ่ง ใด ๆ จากคนอื่น แต่กลับต้องการมอบความสุขแบบนี้ ให้กับทุกคนแทนค่ะ” ความปลาบปลื้มปีติแล้ว น่าจะให้ข้อคิดเพื่อให้มอง ไปข้างหน้าสำหรับพระพุทธศาสนาในอนาคตว่า การ ฟื้นฟูศีลธรรมอันดีงามที่จะนำพาชาวโลกทั้งหลาย ให้พบกับความสุขและสงบสันติอย่างแท้จริงนั้น จะ มิใช่เป็นเพียงความเพ้อฝันอีกต่อไปแล้ว และความ สงบสุขของโลกและมวลมนุษยชาติก็จะเริ่มต้นขึ้น ในยุคของเรา เพราะเราทั้งหลายเชื่อว่า “เราทำได้ ถ้าเราได้ทำและเริ่มทำตั้งแต่บัดนี้ เพราะภาพของ อุบาสิกาแก้วหน่ออ่อนในสายตาของชาวโลกทั้งหลาย คือเทพธิดาแห่งสันติภาพที่แท้จริง อุบาสิกาแก้ว หน่ออ่อนทั้งหลาย คือ บุคคลสำคัญของประเทศชาติ และของสังคมโลก ท่านคือความหวังของชาวโลก ท่านคือผู้กำหนดทิศทางอนาคตสู่สันติสุขของโลก ที่แท้จริง ดังนั้น บุคคลสำคัญที่จะนำไปสู่การเปลี่ยน แปลงโลก (Change the World) ให้เป็นสังคม อุดมคตินั้นจะเป็นใครไปไม่ได้....ถ้าไม่ใช่ “อุบาสิกา จากเรื่องราวส่วนหนึ่งที่นำมาถ่ายทอดใน บทความนี้ นอกจากจะเป็นการทบทวนภาพแห่ง แก้วหน่ออ่อน”
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More