กรรมเท่ากันหรือไม่? วารสารอยู่ในบุญ ประจำเดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554 หน้า 82
หน้าที่ 82 / 124

สรุปเนื้อหา

ในบทความนี้พูดถึงว่ากฎแห่งกรรมส่งผลต่อผู้กระทำอย่างไร ทั้งที่ทำโดยเจตนาและไม่เจตนา โดยยกตัวอย่างการขับรถชนสุนัขและการขับรถชนคน ผลกระทบไม่ได้มีแค่ต่อตัวผู้กระทำ ยังมีผลต่อสังคมรอบข้าง การวิเคราะห์ความผิดต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ดังกล่าว เพื่อทำความเข้าใจเรื่องกรรมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น บทความนี้ลงลึกในแง่มุมของกรรมดีและกรรมเลว ผ่านประสบการณ์การใช้ชีวิตในสังคมและการปฏิบัติตนในทางพุทธศาสนา ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เราทำมีผลโดยรวมต่อทุกชีวิตในโลก สุดท้ายยังชี้ให้เห็นถึงความซับซ้อนของการตีความในเรื่องกรรม

หัวข้อประเด็น

-เจตนาและกรรม
-ผลกระทบจากกรรม
-ความสัมพันธ์ระหว่างกฎหมายและกรรม
-การวิเคราะห์ตัวอย่างกรรม

ข้อความต้นฉบับในหน้า

หลวงพ่อตอบปัญหา โดย : พระภาวนาวิริยคุณ Answer คําตอบ ochrym กรรมเท่ากันหรือไม่ กฎแห่งกรรมมีผลต่อผู้กระทำเท่าเทียมกันหรือเปล่า ระหว่าง คากาม ผู้ที่ทำโดยเจตนากับผู้ที่ทำโดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์ ? Question การทำอะไรโดยเจตนากับไม่เจตนา อย่างไร ๆ ก็มีผลไม่เท่ากัน เช่น เจตนาหรือไม่เจตนาในการสร้างความดี ผลแห่งความดีนั้นก็ออกมาไม่เท่ากัน แต่ว่าสิ่งที่จะต้องคำนึงให้มากก็คือ เวลาทำสิ่งหนึ่งประการใดขึ้นมา ผลที่เกิดไม่ได้เกิดเฉพาะตัว เราเท่านั้น เนื่องจากโลกนี้ไม่ได้มีเราคนเดียว ยังมีคนและสัตว์อยู่ร่วมโลกอีกมาก การที่เราจะทำ สิ่งหนึ่งประการใดลงไป ไม่ว่าฝ่ายดีหรือฝ่ายเลว ฝ่ายบุญหรือฝ่ายบาป นอกจากจะมีผลกับเราแล้ว ยังมีผลต่อสิ่งแวดล้อมที่เป็นมนุษย์และสัตว์อีกด้วย ในเมื่อมีผลกระทบกับมนุษย์และสัตว์อื่น ก็ เลยไปเกี่ยวข้องกับกฎหมายและกฎธรรมชาติอีกเรื่องหนึ่ง โยงกันไปอย่างนี้ เรามาดูกันว่า เมื่อเราทำกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งแล้ว จะเป็นกรรมดีหรือกรรมชั่วก็แล้วแต่ สมมุติว่า ถ้าเราขับรถไปไม่เร็วนัก ขับตามที่กฎหมายเขากำหนดไว้ แล้วเกิดไปชนสุนัขตายโดยไม่ เจตนา เราก็ไม่สบายใจ นั่นเป็นผลแห่งความที่เราเหยียบเบรกไม่ทัน เราก็ไม่สบายใจแล้ว นี้เป็น ส่วนตัวของเรา และมีส่วนกระทบกับสัตว์เข้าไปด้วย ตรงนี้ถ้าจะมีใครเข้ามาเป็นองค์ประกอบด้วย อีก ก็อาจจะเป็นเจ้าของสุนัข เขาก็อาจจะโกรธ แต่ก็พอจะคุยกันรู้เรื่อง และเขาก็คงรู้ว่าการที่เขา ปล่อยให้สุนัขมาวิ่งเพ่นพ่านกลางถนนเป็นความผิดของเขา ส่วนเราเองก็ไม่ได้อยากที่จะขับรถไปชน ให้มันตาย ดีไม่ดีเจ้าของสุนัขอาจจะต้องมาขออภัยเราด้วยซ้ำที่ปล่อยให้สุนัขวิ่งเพ่นพ่านมาให้เรา ชน แล้วก็เลยมาเสียเวลากัน รถติดข้างหลังอีกตั้งเยอะ แต่ว่าแน่ ๆ เราเองก็ไม่สบายใจ เจ้าของ สุนัขก็ไม่สบายใจ แล้วถ้าเหลียวไปดูรถที่ติดยาวเหยียดนั่นก็เป็นเรื่องผลกระทบกับสังคมขึ้นมาแล้ว คนไปทำงานเช้าวันนี้ไม่ทันอีกเพียบ ทำกรรมตรงนี้แม้ไม่ได้เจตนาเลย แต่ว่ามีผลกระทบมาอย่างนี้ นี่ดีว่าเป็นลูกสุนัข ถ้าสมมุติ ว่าเป็นลูกคนจะเป็นอย่างไร ตรงนี้ไม่ใช่มาขอโทษขอโพยกันเสียแล้ว ตำรวจจะมาจับเราด้วย โทษฐาน ขับรถชนคนตาย เพราะฉะนั้นกฎแห่งกรรมนี้ เราจะพูดกันแค่เจตนาไม่เจตนาก็คงไม่ได้ จะเจตนา หรือไม่เจตนาไปชนสุนัข สุนัขนั้นก็แค่ตาย แล้วก็มีคนไม่สบายใจอีกไม่กี่คน แต่พอมาชนคนเข้า ในลักษณะเดียวกัน กฎหมายจะมีส่วนเข้ามาร่วมตรงนี้ เพราะฉะนั้น อยากจะฝากเอาไว้ว่า แทนที่จะมามุ่งดูว่าทำกรรมนั้นกรรมนี้โดยไม่เจตนา กับเจตนาแล้วผลจะออกมาเหมือนกันหรือไม่เหมือนกัน หนักหนาสาหัสเท่ากันไม่เท่ากัน จะไปนรก ขุมตื้นขุมลึกอะไรนั้น เรื่องนี้ค่อนข้างสลับซับซ้อนและหาข้อยุติยาก เพราะเรายังไม่มีหูทิพย์ ตาทิพย์
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More