ข้อความต้นฉบับในหน้า
รูปนั้นกราบทูลเล่าถึงความเป็นผู้หยั่งรู้วาระจิตของมหาอุบาสิกาทุกประการ
และสารภาพ
อย่างตรงไปตรงมาว่าตนไม่อาจอยู่ในที่นั้นได้ พระบรมศาสดาจึงทรงแนะนำว่า “การฝึกจิต
ที่ข่มได้ยาก เป็นธรรมชาติเร็ว มักตกไปในอารมณ์ตามความใคร่ ย่อมเป็นการดี เพราะ
จิตที่ฝึกดีแล้วย่อมนำสุขมาให้” จากนั้นก็ทรงให้กำลังใจ และส่งภิกษุรูปนั้นกลับไปบำเพ็ญ
เพียรยังหมู่บ้านนั้นอีกครั้ง
ภิกษุรูปนั้นก็เชื่อฟังคำสั่งสอนของพระบรมศาสดาอย่างเคร่งครัด ตามรักษาจิตไว้
ภายใน ไม่ยอมเปิดช่องให้ความคิดแบบฆราวาสวิสัยแทรกซึมเข้ามาได้ ฝ่ายมหาอุบาสิกา
หยั่งรู้วาระจิตนั้นแล้ว ก็รู้ว่าภิกษุผู้บุตรของตนตามรักษาจิตอยู่ในโอวาทของพระบรมศาสดา
จึงตั้งใจอุปัฏฐากด้วยอาหารเลิศรสให้เป็นที่สบาย ผ่านระยะเวลาไปเพียง ๒-๓ วัน เท่านั้น
พระภิกษุรูปนั้นก็บรรลุอรหัตผลที่วัดป่าแห่งนั้น นับเป็นวัดป่าที่มีพระอรหันต์บังเกิดขึ้น
อีกรูปหนึ่ง ในระยะเวลาอันรวดเร็ว
ดังนั้น ด้วยการอาศัยเหตุ ๒ ประการ ได้แก่ หนึ่ง คือ กำลังศรัทธาของชาวหมู่บ้าน
มาติกคามที่ช่วยกันดูแลรักษาสังฆารามให้ยังคงสภาพความเป็นวัดป่าที่น่ารื่นรมย์เหมาะแก่
การบำเพ็ญเพียรอยู่เสมอ
สอง คือ อาศัยการอุปัฏฐากด้วยอาหารเป็นที่สบายของมาติกามาตา มหาอุบาสิกา
ผู้หยั่งรู้วาระจิตของภิกษุ
นับจากนั้นเป็นต้นมา วัดป่ามาติกคามจึงกลายเป็น "สังฆาราม แห่งการผลิต
พระอรหันต์” ให้บังเกิดขึ้นในโลกนี้อย่างต่อเนื่องไม่ขาดสาย จนกลายเป็นตำนานที่เล่าขาน
กันมาถึงยุคนี้ และมาติกามาตาก็เป็นต้นแบบของมหาอุบาสิกา ผู้อุปการะพระพุทธศาสนา
ให้เจริญรุ่งเรืองด้วย “พระอริยสงฆ์” อย่างแท้จริง
สรุป
การกำเนิดของการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของการสร้างวัดในยุคพุทธกาลได้สะท้อนให้
ชาวพุทธยุคปัจจุบันได้เห็นว่า วัดทั้งสามประเภท ได้แก่ วัดเพื่อการเผยแผ่ วัดเพื่อการศึกษา
วัดเพื่อการบรรลุธรรม ล้วนต้องพึ่งพาอาศัยอุปการะเกื้อกูลซึ่งกันและกัน พระพุทธศาสนา
จึงจะมีความเป็นปึกแผ่นมั่นคงเป็นหนึ่งเดียวกัน วัดย่อมไม่ร้างจากพระญาติโยมย่อมไม่ร้าง
จากการทำบุญ โลกย่อมไม่ร้างจากพระอรหันต์ นี่คือ “สามประสานแห่งความมั่นคงของ
พระพุทธศาสนา” ที่ชาวพุทธทุกยุคทุกสมัยต้องการอย่างแท้จริง โดยไม่อาจขาดวัดใดวัดหนึ่ง
ไปได้เลย แม้แต่ประเภทเดียว
ல்ல