บาลีไวยกรณ์และสนธิ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 2
หน้าที่ 2 / 28

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาเกี่ยวกับบาลีไวยกรณ์ โดยอธิบายความหมายและการจำแนกประเภทของคำในบาลีและสันสกฤต เช่น การแบ่งไวยากรณ์ออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ Orthography, Etymology, Syntax และ Prosody รวมถึงการแบ่งประเภทที่สำคัญในเอติโมโลยีที่มี 5 ส่วน ได้แก่ Noun, Adjective, Article เป็นต้น เนื้อหานี้ยังเปรียบเทียบการใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนไวยากรณ์ โดยนำเสนอวิธีการอ่านเสียงใน Prosody และการแต่งโคลงกลอน

หัวข้อประเด็น

-บาลีไวยกรณ์
-สนธิ
-ภาษาอังกฤษ
-การแบ่งประเภทคำ
-การอ่านเสียง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 2 ของสิ่งเดียว ๑ ทวิวจนะ คำพูดถึงคนหรือของ ๒ สิ่ง ๑ พหุวจนะ คำพูดถึงคนหรือของมาก ๑. ส่วนในบาลีภาษามิวจนะแต่ ๒ คือ เอกวจนะ ๑ พหุวจนะ ๑ และในภาษาสันสกฤตมีวิภัตติอาขยาต ๑๐ หมู่ ในบาลีภาษามีแต่ ๘ หมู่เป็นต้น. ในอังกฤษภาษา นักปราชญ์ชาว ประเทศนั้น แบ่งไวยากรณ์ (GRAMMAR ) ของตน เป็น ๔ ส่วน เรียกชื่อว่า ORTHOGRAPHY สอนให้ว่าและเขียนถ้อยคำนั้น ๆ ให้ถูกต้องตามตัวอักษรเหมือนกับอักขรวิธีในบาลีภาษา ๑ ETYMO- LOGY แสดงประเภทแห่งถ้อยคำนั้น ๆ ที่ออกจากต้นเดิมของตน ๆ เหมือนกับนามเป็นต้นในบาลีภาษา ๑ SYNTAX เรียบเรียงมาตรา แห่งถ้อยคำนั้น ๆ ที่กล่าวมาในเอติโมโลยี ส่วนที่ ๑ แล้ว ให้เป็นประโยค เหมือนกับการกในบาลีภาษา ๑ PROSODY แสดงวิธีอ่านเสียง หนัก เบา ยาว สั้น ดัง ค่อย หยุดตามระยะที่สมควร และวิธีแต่งโคลง กลอน เหมือนกับฉันทลักษณะในบาลีภาษา ๑ แต่ในเอติโมโลยีส่วน ที่ ๒ นั้น แบ่งออกเป็นวจนวิภาค ๕ ส่วน คือ NOUN คำพูดที่เป็น ชื่อคน, ที่, และสิ่งของ ตรงกันกับนามศัพท์ 9 ADJECTIVE คำพูด สำหรับเพิ่มเข้ากับนามศัพท์ เพื่อจะแสดงความดีหรือชั่วของนามศัพท์นั้น ตรงกับคุณศัพท์หรือบทวิเศษ ๑ ARTICLE คำพูดสำหรับนำหน้า นามศัพท์ เพื่อเป็นเครื่องหมายนามศัพท์ ที่คนพูดและคนเขียน นิยมและไม่นิยม อาการคล้ายกับ เอก ศัพท์ ๓ ศัพท์ ที่สำเร็จรูป เป็น เอโก เป็น โส แต่จะว่าเหมือนแท้ก็ไม่ได้ เพราะอาติกล A หรือ AN ท่านไม่ได้สงเคราะห์เข้าในสังขยา มีคำใช้ในสังขยาที่
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More