บาลีไวยกรณ์: การเปรียบเทียบกับภาษาอื่น บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 4
หน้าที่ 4 / 28

สรุปเนื้อหา

บทนี้กล่าวถึงความแตกต่างของไวยกรณ์ระหว่างภาษาบาลี สันสกฤต ภาษาอังกฤษและภาษาไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้เปรโปสิชันและอุปสัคที่มีลักษณะเฉพาะในแต่ละภาษา ข้าพเจ้าได้สังเกตการจัดเรียงและการใช้งานในภาษาอังกฤษแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างที่น่าสนใจ.

หัวข้อประเด็น

-เปรียบเทียบไวยกรณ์ภาษาบาลีและภาษาสันสกฤต
-การใช้เปรโปสิชันในต่างภาษา
-อุปสัคและความหมายในภาษาต่างๆ
-คำประเภท CONJUNCTION และ INTERJECTION

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 4 ด้วยบาลีภาษา หรือ สันสกฤตภาษา ก็ไม่ชัดความ เพราะภาษาทั้ง ๒ ไม่ใช้เปรโปสิชันตรง เหมือนภาษาอังกฤษและภาษาสยามของเรา ใช้เปลี่ยนที่สุดนามศัพท์นั้น ๆ เอง ตามความที่จะต้องลงเปรโปสิชัน เหมือนภาษาลตินและภาษาคริก แต่ข้าพเจ้าเห็นหนังสือไวยากรณ์บาลี และสันสกฤต ที่นักปราชญ์ชาวยุโรปแต่งไว้ ท่านแสดงเปรโปสิชันว่า เป็นอุปสัค ข้าพเจ้ายังจับเหตุไม่ได้ เพราะเห็นวิธีที่ใช้ เปรโปสิชัน ใน ภาษาอังกฤษอย่างหนึ่ง ใช้วิธีอุปสัคในภาษาบาลีอย่างหนึ่ง ไม่เหมือน กัน ถ้าจะเทียบแล้ว เห็นว่าอุปสัคคล้ายแอดเวิบ คือกิริยาวิเศษ เพราะนำหน้ากิริยา เพื่อจะแสดงกิริยานั้นให้ดีขึ้นหรือให้ชั่วลง จะเห็น ง่ายกว่า ๑, CONJUNCTION คำพูดสำหรับต่อศัพท์หรือประโยคให้ เนื่องกัน ตรงกับนิบาตบางพวกมี จ และ วา เป็นต้น ที่นักปราชญ์ ชาวยุโรปให้ชื่อว่า PARTICLE OR INDECLINABLE 9, INTERJECTION คำพูดสำหรับแสดงความอัศจรรย์หรือความตกใจ ตรงกันกับนิบาตบางพวกมี อโห เป็นต้น. เอติโมโลยี ส่วนที่ ๒ ท่านแจกออกไปเป็น ๕ อย่างบ้าง 4 อย่างบ้าง ดังนี้.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More