บาลีไวยกรณ์: โฆสะและอโฆสะในพยัญชนะ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 15
หน้าที่ 15 / 28

สรุปเนื้อหา

การศึกษาเกี่ยวกับพยัญชนะในบาลีไวยกรณ์ แบ่งออกเป็นโฆสะและอโฆสะ โดยในที่นี้ได้กล่าวถึงหลักการในการเรียงลำดับเสียงเบาและเสียงหนัก พร้อมทั้งการวิจารณ์เกี่ยวกับตำแหน่งการจัดเรียง เช่นที่ตัว ห ที่ส่วนโฆสะ อาจต้องเรียงก่อนตัวอื่น เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการกล่าวถึงความคิดเห็นของนักวิชาการที่เกี่ยวกับการพิจารณาและความแตกต่างระหว่างการใช้พยัญชนะในสูตรต่าง ๆ โดยเฉพาะในแง่มุมของพุทธชะและการวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์

หัวข้อประเด็น

-โฆสะในพยัญชนะ
-อโฆสะในพยัญชนะ
-การเรียงลำดับพยัญชนะ
-ความคิดเห็นนักปราชญ์
-หลักการทำวิการในบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค๑ - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 15 กระนั้น พยัญชนะที่เป็นโฆสะเสียงหนักกว่า พยัญชนะที่เป็นอโฆสะ เสียงเบา จำจะต้องเรียงพยัญชนะที่ที่มีเสียงเบาก่อน เรียงพยัญชนะที่ มีเสียงหนักไว้ภายหลัง ท่านจึงได้เรียงอ โฆสะไว้ก่อน โฆสะไว้ภาย หลัง, ในพยัญชนะที่มิใช่วรรคก็เป็น ๒ คือ โฆสะและอโฆสะ ย ร ล ว ห ฬ ๖ ตัวนี้เป็นโฆสะ ส เป็นอโฆสะ ในที่นี้โฆสะมากกว่า อโฆสะ มีแต่ตัวเดียวเท่านั้น ท่านจึงเรียงโฆสะไปตามลำดับฐานที่เกิดเสียก่อน ไม่เรียงเหมือนพยัญชนะในวรรค ต่อนั้นจึงอโฆสะ แต่ ห เพราะเป็น โฆสะและกัณฐชะ ควรจะเรียงไว้ก่อนก็จริง ถึงกระนั้น จึงเห็นว่า ท่านเรียงไว้ผิดลำดับ เพื่อจะให้รู้ว่า แม้เรียงไปตามลำดับก็คงผิดลำดับ [ เหตุผลที่เรียงตัว ห ต่อตัว ส นี้ ท่านแสดงไว้ไม่วิเศษอย่างนี้ นัก ปราชญ์ควรพิจารณาดู] นักปราชญ์ซึ่งรู้คัมภีร์ศัพทศาสตร์ทั้งหลาย กล่าวตัว ฬ ทำวิการให้เป็นตัว ๆ ในที่นี้ท่านกล่าวไว้ต่างหาก ส่วน อาจารย์ผู้ทำสูตรเล่าเรียน [มิใช่พระสูตรในพระไตรปิฎก ประสงค์ เอาสูตรเช่นในมูล ] กล่าวตัว ล ในที่ตัว พ พยัญชนะ คือ ฬ นี้ แม้ถึงท่านไม่ได้พิจารณาว่าเป็นโฆสะหรืออโฆสะ ก็อาจรู้ได้ตาม วิจารณ์ ล เพราะตั้งอยู่ในฐานเป็นตัว ล แต่ในคัมภีร์ศัพทศาสตร์ ท่านหมายเอาเป็นตัว ๆ ไม่กล่าวไว้ต่าง เพื่อจะให้รู้ว่า ชนทั้งปวง ไม่กล่าวเหมือนกัน บางพวกก็กล่าวตัว ล ในที่ตัว ฬ นั้น บางพวก กล่าวตัว ฑ ในที่ตัว ฬ นั้น เพราะเป็นพุทธชะและโฆสะ ดังนี้ ควรจะ เรียงไว้ในลำดับแห่ง ร แต่ท่านมาเรียงไว้หลัง (ข้อนี้ก็ควรวิจารณ์ หรือเพราะเป็นพยัญชนะที่นิยมเอาเป็นแน่ไม่ได้เหมือนพยัญชนะอื่น จึง ล พ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More