บาลีไวยกรณ์: สมัญญาภิธานและสนธิ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 26
หน้าที่ 26 / 28

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาในบทนี้กล่าวถึงวิธีการสนธิในบาลีตามรูปแบบสันสกฤต ซึ่งมีข้อกำหนดเกี่ยวกับการใช้สระที่ตามมา โดยเน้นว่าหากสระหน้าและหลังมีลักษณะสัมพันธ์กัน จะทำให้เกิดการผสมเสียงตามรูปแบบที่กำหนด นอกจากนี้ยังได้กล่าวถึงกฎการผสมเสียงระหว่างสระและพยัญชนะที่เป็นวรรคต่างๆ ที่มีบทบาทต่อการสนธิในภาษาบาลี เช่น การผสมเสียง ถ้าสระหน้าและหลังไม่เหมือนกันก็จะมีวิธีการผสมที่แตกต่างกัน รวมถึงการชี้แจงเกี่ยวกับการใช้งานและคำควบคู่ที่สัมพันธ์กันในภาษา.

หัวข้อประเด็น

-การสนธิในบาลี
-วิธีการผสมเสียง
-กฎการใช้งานของสระและพยัญชนะ
-ความสัมพันธ์ระหว่างสระหน้าและหลัง

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยคต - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 26 แบบสนธิตามวิธีสันสกฤต [๓๕] ถ้าศัพท์มีที่สุดเป็น สระ อ หรือ อา ก็ดี อิ หรือ อี ก็ดี อุ หรือ อู ก็ดี สระตามหลังก็เป็นเหมือนกันอย่างนั้น คือ ถ้าสระ หน้าเป็น อ หรือ อา ก็เป็น อ หรือ อา เหมือนกัน ถ้าสระหน้าเป็น อิ หรือ อี ก็เป็น อิ หรือ อี เหมือนกัน ถ้าสระหน้าเป็น อุ หรือ อู ก็เป็น อุ หรือ อู เหมือนกัน สระ ๒ นั้นผสมกันเข้าเป็นทีฆะ คือ เป็น อา อี อู ตามรูปของตน ถ้าสระหน้าเป็น อ หรือ อา สระหลัง เป็นสระอื่นไม่เหมือนกัน คือ เป็น อิ อี ก็ดี อุ อู ก็ดี, อ อา กับ อิ อี ผสมกันเข้า เป็น เอ, อ อา กับ อุ อู ผสมกันเข้าเป็น โอ. ถ้าสระหน้าเป็น อิ อี หรือ อุ อู สระหลังเป็นสระอื่น มีรูปไม่ เสมอกัน เอาสระหน้า คือ อิ อี เป็น ย, อุ อู เป็น 2, ถ้าสระ หน้าเป็น เอ หรือ โอ สระหลังเป็น อ ลบ อ เสีย ถ้าสระหลังเป็น สระอื่นนอกจาก อ. เอา เอ เป็น อย, เอา โอ เป็น อว, อนุสาร คือ นิคคหิต ถ้าพยัญชนะวรรคอยู่หลัง อาเทสเป็นพยัญชนะที่สุดวรรค ดังกล่าวแล้วข้างต้น [๒๒]
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More