ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 7
เหมือนคำว่า เสยฺโย โสตฺถิ เป็นต้น, สระที่เป็นทีฆะล้วน และสระ
ที่เป็นรัสสะมีพยัญชนะสังโยค และนิคคหิตอยู่เบื้องหลัง ชื่อครู มี
เสียงหนัก เหมือนคำว่า ภูปาโล เอส มนุสฺสินฺโท โกเสยย
เป็นต้น, สระที่เป็นรัสสะล้วน ไม่มีพยัญชนะสังโยค และนิคคหิตอยู่
เบื้องหลัง ชื่อลหุ มีเสียงเบา เหมือนคำว่า ปติ มุนิ เป็นต้น, สระนั้น
จัดเป็นคู่ได้ ๓ คู่ อ อา เรียกว่า อวณฺโณ, อิ อี เรียกว่า อิวณฺโณ,
อุ อู เรียกว่า อุวณฺโณ, เอ โอ ๒ ตัวนี้ เป็นสังยุตตสระ
ประกอบเสียงสระ ๒ ตัวเป็นเสียงเดียวกัน ตรงกับคำอังกฤษเรียกว่า
DIPHTHONG อ กับ อิ ผสมกันเป็น เอ, อ กับ อุ ผสมกัน
เป็น โอ, เพราะฉะนั้น สระ ๒ ตัวนี้ จึงเกิดใน ๒ ฐานตามที่แสดงไว้
ข้างหน้า [ 6 ].
พยัญชนะ
[๖] อักขระที่เหลือจากสระนั้น ๓๓ ตัว มี ก เป็นต้น มีนิคคหิต
เป็นที่สุด ชื่อพยัญชนะ คำว่าพยัญชนะนั้น แปลว่า ทำเนื้อความให้
ปรากฏ อักขระเหล่านี้เป็นนิสสิต ต้องอาศัยสระจึงออกเสียง
ได้ก็จริงอยู่ ถึงกระนั้นก็ทำเนื้อความให้ปรากฏชัด จนถึงเข้าใจ
ความได้ แต่ลำพังสระเอง แม้ถึงออกเสียงได้ ถ้าพยัญชนะไม่
อาศัยแล้ว ก็จะมีเสียงเหมือนกันไป แสดงเนื้อความไม่ชัด ยากที่
จะสังเกตได้ เหมือนหนึ่ง จะถามว่า " ไปไหนมา " ถ้าพยัญชนะ
ไม่อาศัยแล้ว สำเนียงก็จะเป็นตัว อ เป็นอย่างเดียวกันไปหมดว่า