บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 6
หน้าที่ 6 / 28

สรุปเนื้อหา

เนื้อหาชี้แจงเกี่ยวกับอักขระที่ใช้ในภาษาบาลี รวมถึงบทบาทของเสียงและตัวหนังสือ ทั้งในแง่ของการใช้ภาษาและความหมายของอักขระ 41 ตัวในบาลี ได้อธิบายถึงประเภทของสระและพยัญชนะ รวมถึงการออกเสียงที่ถูกต้องที่เป็นพื้นฐานในการศึกษาภาษา.

หัวข้อประเด็น

-บาลีไวยกรณ์
-อักขระในบาลี
-ประเภทของสระ
-การออกเสียงในบาลี
-ความสำคัญของภาษา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 6 หนังสืออย่าง ๑ มีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน เสียงก็ดี ตัวหนังสือ ก็ดี ที่เป็นของชาติใด ภาษาใด ก็พอใช้ได้ครบสำเนียง ในชาตินั้น ภาษานั้น ไม่บกพร่อง ถ้าจะกล่าวหรือเขียนสักเท่าใด ๆ ก็คงใช้ เสียง หรือตัวหนังสืออยู่เท่านั้นเอง เสียงและตัวหนังสือนั้น มิได้ สิ้นไปเลย และไม่เป็นของแข็ง ที่จะใช้ในภาษานั้นยาก เหมือน หนึ่งเสียงและตัวหนังสือของชาติอื่น จะเอามาใช้ในภาษาอื่นจากภาษา นั้นยาก เป็นของชาติไหนภาษา ก็ใช้ได้พอสมควรแก่ชาตินั้น ภาษานั้น ไม่ขัดข้อง เพราะฉะนั้น เสียงก็ดี ตัวหนังสือก็ดี ชื่อว่า อักขระ แปลว่า ไม่รู้จักสิ้นอย่าง ๑ ไม่เป็นของแข็งอย่าง ๑. [๒] อักขระที่ใช้ในบาลีภาษานั้น ๔๑ ตัว คือ อ อา อิ อี อุ อู เอ โอ 4 ตัวนี้ชื่อสระ, ก ข ค ฆ ง จ ฉ ช ฌ ญ ฏ ฐ ฑ ฒ ณ ด ถ ท ธ น ป ผ พ ภ ม ย ร ล ว ส ห ฬ ตัวนี้ชื่อพยัญชนะ, 0 ๓๓ 0 [๓] ในอักขระ ๔๑ ตัวนั้น อักขระเบื้องต้น 4 ตัว ตั้งแต่ อ จนถึง โอ ชื่อสระ ออกเสียงได้ตามลำพังตนเอง และทำพยัญชนะ ให้ออกเสียงได้, สระ 4 ตัวนี้ ชื่อนิสสัย เป็นที่อาศัยของพยัญชนะ บรรดาพยัญชนะ ต้องอาศัยสระ จึงออกเสียงได้ ในสระ 4 ตัวนั้น สระมีมาตราเบา ๓ ตัว คือ อ อิ อุ ชื่อ รัสสะ มีเสียงสั้น เหมือน คำว่า อติ ครุ, สระอีก ๕ ตัว อื่นจากรัสสะ ๓ คือ อา อี อู เอ โอ ชื่อทีฆะ มีเสียงยาว เหมือนคำว่า ภาคี วธู เสโข เป็นต้น, แต่ เอ โอ ที่มีพยัญชนะสังโยค คือซ้อมกันอยู่เบื้องหลังท่านกล่าวว่า เป็นรัสสะ อุ
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More