สนธิในบาลีไวยกรณ์ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 17
หน้าที่ 17 / 28

สรุปเนื้อหา

บทนี้พูดถึงวิธีการต่อศัพท์และอักขระในภาษาบาลี โดยเน้นการใช้สนธิซึ่งช่วยในการสร้างภาษาที่สละสลวยและย่นอักขระให้สั้นลง มีการแยกประเภทการต่อที่สำคัญ เช่น สระสนธิ พยัญชนะสนธิ นิคคหิตสนธิ และเสนอวิธีอุปการะในการทำสนธิ 8 ประการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงอักษรและเสียง เพื่อให้เหมาะสมกับการแต่งฉันท์และการพูด.

หัวข้อประเด็น

-วิธีการต่อศัพท์
-ประเภทของสนธิ
-การอุปการะในการทำสนธิ
-การเปลี่ยนแปลงอักษร

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 17 สนธิ [๑๙] ในบาลีภาษา มีวิธีต่อศัพท์และอักขระ ให้เนื่องกันด้วย อักขระ เพื่อจะย่นอักขระให้น้อยลง เป็นการอุปการะในการแต่งฉันท์ และให้คำพูดสละสลวย เรียกสนธิ แต่มิใช่สมาส ที่ย่นบทมีวิภัตติ หลาย ๆ บทให้เป็นบทเดียวกัน ซึ่งจกล่าวในวจีวิภาคข้างหน้า การต่อมี ๒ คือ ต่อศัพท์ที่มีวิภัตติ ให้เนื่องด้วยศัพท์ที่มีวิภัตติ เหมือน จตฺตาโร อิเม ต่อเข้าเป็น จตฺตาโรเม เป็นต้นอย่าง ๑ ต่อบทสมาส ย่ออักษรให้น้อยลง เหมือน กต อุปกาโร ต่อเข้า เป็น กโตปกาโร เป็นต้นอย่าง ๑. ในที่นี้ ข้าพเจ้าประสงค์จะให้ผู้ศึกษา เรียนแต่วิธีอักขระ ด้วยอักขระอย่างเดียวเท่านั้น ยังไม่ประสงค์จะให้เข้าใจเนื้อความ ของคำที่เขียนเป็นอุทาหรณ์ไว้ ซึ่งเป็นเหตุให้เนิ่นช้า จึงมิได้แปล เนื้อความไว้ด้วย เพราะยังไม่เป็นสมัยที่จะควรเรียนให้เข้าใจเนื้อ ความก่อน ก็การต่ออักขระด้วยอักขระนั้น จัดเป็น ๓ ตามความที่ เป็นประธานก่อน คือสระสนธิ ต่อสระ ๑ พยัญชนะสนธิ ต่อ พยัญชนะ ๑ นิคคหิตสนธิ ต่อนิคคหิต ๑, สนธิกิริโยปกรณ์ วิธี เป็นอุปการะแก่การทำสนธิ ๘ อย่าง โลโป ลบ ๑ อาเทโส แปลง ๑ อาคโม ลงตัวอักษรใหม่ ๑ วิกาโร ทำให้ผิดจากของเดิม ๑ ปกติ ปรกติ ๑ ที่โฆ ทำให้ยาว ๑ รสส์ ทำให้สั้น ๑ ด 0 สญฺโญโค ซ้อนตัว ๑.
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More