บาลีไวยกรณ์: สมัญญาภิธานและสนธิ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 20
หน้าที่ 20 / 28

สรุปเนื้อหา

เนื้อหานี้พูดถึงการแปลงสระเบื้องปลายในภาษาบาลี โดยจะมีวิธีการและตัวอย่างการใช้สระในตำแหน่งต่างๆ ขึ้นอยู่กับการวางพยัญชนะคู่กัน และยังมีการอธิบายลักษณะการสนธิและวิการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในภาษาบาลี การศึกษานี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจเรียนรู้กฎเกณฑ์ทางไวยกรณ์และการประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ รวมถึงการศึกษาคัมภีร์ในภาษาบาลีที่ต้องการความมีระเบียบเรียบร้อยในการเขียนและพูด

หัวข้อประเด็น

-การแปลงสระเบื้องต้น
-การใช้สระในพยัญชนะ
-ขั้นตอนวิการในเบื้องต้นและเบื้องปลาย

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 20 แปลงสระเบื้องปลายนั้น ถ้ามีสระอยู่ข้างหน้า แปลง เอ ตัวหน้าแห่ง เอง ศัพท์อันตั้งอยู่เบื้องปลายเป็น 3 ได้บ้าง แล้วรัสสะ สระเบื้องหน้าให้สั้น อุ ว่า ยถา-เอว เป็น ยถริว, ตถา-เอว เป็น ตถริว. [๒๑] อาคโม ลงตัวอักษรใหม่นั้นดังนี้ ถ้าสระ โอ อยู่หน้า พยัญชนะอยู่หลัง ลบ โอ เสีย แล้วลง อ อาคมได้บ้าง อุ ว่า โส-สีลวา เป็น สสีลวา, โส - ปญฺญวา เป็น สปญฺญวา, เอโส- ธมฺโม เป็น เอสธมฺโม, พยัญชนะอยู่เบื้องปลายลง โอ อาคมได้ บ้าง อุ. ว่า ปร-สหสฺสํ ลบ อ ที่สุดแห่ง ปร ศัพท์ แล้วลง โอ อาคม เป็น ปโรสหสฺส, สรทสต์ ลบ อ ที่สุดแห่ง สรท ศัพท์ แล้วลง โอ อาคม เป็น สรโทสต์, [๒๒] วิกาโร เป็น ๒ คือ วิการในเบื้องต้น ๑ วิการในเบื้อง ปลาย 9 วิการในเบื้องต้นดังนี้ เมื่อลบสระเบื้องปลายแล้ว เอา สระเบื้องหน้า คือ อิ เป็น เอ เอา อุ เป็น โอ อุ. ว่า มุนิ-อาลโย เป็น มุเนลโย, สุ-อตฺถี เป็น โสตถี, วิการในเบื้องหลัง ก็มีวิธี เหมือนวิการในเบื้องหน้า เป็นแต่ลบสระหน้า วิการสระหลังเท่านั้น อุ ว่า มาลุต-อิริต, เป็น มาลุเตริต, พนฺธุสส-อิว เป็น พนฺธุสเสว, น-อุเปติ เป็น โนเปติ, อุทก์-อุมิกชาติ เป็น อุทโกมิกชาติ ลบนิคคหิตด้วยโลปสนธิ [๒๓] ปกติสระนั้น ไม่มีวิเศษอันใด เป็นแต่เมื่อสระเรียงกัน อยู่ ๒ ตัว ควรจะทำเป็นสระสนธิอย่างหนึ่งอย่างใดได้ แต่หาทำไม่ คง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More