บาลีไวยกรณ์: สมัญญาภิธานและสนธิ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 13
หน้าที่ 13 / 28

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้กล่าวถึงความสำคัญของพยัญชนะที่มีผลต่อการออกเสียงสระในภาษาบาลี ซึ่งรวมถึงการใช้งานของพยัญชนะกึ่งมาตราและอัฑฒสระ รวมถึงลำดับการเรียงอักขระและนิสสัยต่างๆในภาษา นอกจากนี้ยังเปรียบเทียบกับแนวทางของนักปราชญ์ตะวันตก นับเป็นการให้ความรู้เบื้องต้นสำหรับผู้ที่สนใจในบาลีไวยกรณ์.

หัวข้อประเด็น

-พยัญชนะและการออกเสียง
-ลำดับอักขระในบาลี
-นิสสัยและนิสสิต
-อัฑฒสระและกึ่งมาตรา
-ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบาลีไวยกรณ์

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 13 พยัญชนะอื่น ก็ทำให้สระที่อยู่ข้างหน้าตน ออกเสียงมีลมมากขึ้น เหมือนคำว่า พฺรหฺม ถ้าพยัญชนะ 4 ตัว ณ ณ น ม ย ล ว ฬ, นำหน้า มีสำเนียงเข้าผสมพยัญชนะนั้น [๑๕] ข้อที่ว่าไว้ข้างต้นว่า พยัญชนะทั้งปวงกึ่งมาตรานั้น ว่า ตามที่ท่านแสดงไว้โดยไม่แปลกกัน ถ้าจะแสดงให้พิสดารสักหน่อย ตามวิธีนักปราชญ์ชาวตะวันตกจัดแบ่งไว้นั้น เห็นว่า พยัญชนะวรรค ทั้งปวง เป็นมูคะพยัญชนะ MUTES ไม่มีมาตราเลย เพราะจะรวมเข้า กับพยัญชนะวรรคตัวใดตัวหนึ่งลงในสระเดียวกัน ออกเสียงผสมกับ ไม่ได้ เป็นได้อยู่แต่ตัวสะกดอย่างเดียว, ส่วนพยัญชนะ คือ ย ร ล ว ส ห ฬ ๗ ตัวนี้ เป็นอัฑฒสระ มีเสียงกึ่งสระ คือ กึ่งมาตรา ය เพราะพยัญชนะเหล่านี้ บางตัวก็รวมลงในสระเดียวกันด้วยพยัญชนะ อื่น ออกเสียงพร้อมกันได้ บางตัว แม้เป็นตัวสะกด ก็คงออกเสียง หน่อยหนึ่ง พอให้รู้ได้ว่าตัวนั้นสะกด ลำดับอักขระ [๑๖] การเรียงลำดับอักขระนั้น ไม่สู้เป็นอุปการะแก่ผู้ที่แรก ศึกษา ถึงกระนั้น ก็เป็นเครื่องประดับปัญญาได้อย่างหนึ่ง จึงได้ แสดงไว้ในที่นี้ ในคัมภีร์มุขมัคคสารทีปนี ท่านแสดงลำดับแห่ง อักขระไว้ดังนี้ อักขระ ๔๑ ตัว แม้ต่างกันโดยฐานที่เกิดเป็นต้น ก็ เป็น ๒ อย่าง คือ เป็นนิสสัยอย่าง ๑ เป็นนิสสิตอย่าง ๑ สระที่เป็น ที่อาศัยของพยัญชนะ ชื่อนิสสัย, พยัญชนะอันอาศัยสระ ชื่อนิสสิต
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More