บาลีไวยกรณ์: การเรียงอักขระและสระ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 14
หน้าที่ 14 / 28

สรุปเนื้อหา

ในบทนี้ได้ศึกษาเกี่ยวกับการเรียงอักขระในบาลี โดยเริ่มจากการเรียงนิสสัยซึ่งรวมถึงการจัดเรียงสระที่เกิดในฐานเดียวและ 2 ฐาน โดยสระในฐานเดียวต้องเรียงก่อนตามลำดับของฐานที่เกิด ทั้งนี้ควรให้ความสำคัญกับเสียงของสระคือ รัสสสระที่มีเสียงเบาและทีฆสระที่มีเสียงหนัก นอกจากนี้ยังเน้นถึงการเรียงพยัญชนะตามลำดับฐานเพื่อให้รู้จักการจัดระเบียบที่เหมาะสมต่อไป สนใจเรียนรู้เพิ่มเติมสามารถติดตามได้ที่ dmc.tv

หัวข้อประเด็น

-การเรียงอักขระ
-สระในบาลีไวยกรณ์
-พยัญชนะและลำดับฐาน
-การเรียนรู้ภาษาบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 14 เมื่อจะเรียงอักขระให้เป็นลำดับ จำจะต้องเรียงนิสสัยไว้ก่อน ท่านจึง เรียงสระก่อน ก็สระนั้นเล่า ก็เป็น ๒ อย่าง เกิดในฐานเดียวบ้าง เกิดใน ๒ ฐานบ้าง, ควรจะเรียงสระที่เกิดในฐานเดียวก่อน ก็สระที่ เกิดในฐานเดียวนั้นเป็น ๓ อย่าง กัณฐชะ เกิดในคออย่าง ๑ ตาลุชะ เกิดที่เพดานอย่าง ๑ โอฏฐชะ เกิดที่ริมฝีปากอย่าง ๑ สระที่เกิดใน ฐานเดียว ที่จำจะต้องเรียงก่อนนั้น ท่านก็เรียงไปตามลำดับฐานที่ เกิด ตั้งต้นแต่คอ ถัดมาก็ถึงเพดาน ต่อมาจึงถึงริมฝีปาก ในสระ ที่เกิดในฐานเดียว ซึ่งไปตามลำดับฐานดังนี้นั้น รัสสสระเป็นลหุ มีเสียงเบา ทีฆสระเป็นครุ มีเสียงหนัก ควรเรียงลหุก่อน ท่านจึง เรียงลหุก่อน ครุภายหลัง ในสระที่เกิดใน ๒ ฐาน ท่านเรียงตัว เอ ไว้ก่อน ตัว โอ ไว้ภายหลัง เพราะ เอ เกิดในฐานทั้ง ๒ ที่ตั้ง อยู่ก่อน คือ คอและเพดาน, ตัว โอ เกิดในฐานทั้งอยู่ภาย หลัง คือ คอและริมฝีปาก นี้เป็นลำดับสระ [๑๓] ส่วนพยัญชนะก็เป็น ๒ เป็นวรรค ๑.เป็นอวรรค ๑. ท่านเรียงพยัญชนะวรรคไว้ก่อน พยัญชนะที่มิใช่วรรคไว้หลัง เพราะ พยัญชนะวรรคมากกว่าพยัญชนะที่มิใช่วรรค ให้รู้จักลำดับของ พยัญชนะวรรคทั้ง ๕ ตามลำดับฐานดังนี้ ฐาน คือ คอ เป็นต้น ถัดมา เพดาน ปุ่มเหงือก ฟัน ริมฝีปาก เป็นลำดับกันไป ท่าน จึงเรียง ก วรรคไว้ต้น ต่อไป จ วรรค 2 วรรค ต วรรค ป วรรค เป็นลำดับไป แม้ถึงอักขระในวรรคเล่าก็เป็น ๒ โฆสะอย่าง ๑ อโฆสะ อย่าง ๑ แม้ถึงควรจะเรียงโฆสะไว้ก่อน เพราะมากกว่าก็จริงอยู่ ถึง
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More