บาลีไวยกรณ์และการทำสนธิ บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 25
หน้าที่ 25 / 28

สรุปเนื้อหา

เอกสารนี้ให้ความรู้เกี่ยวกับบาลีไวยกรณ์ โดยกล่าวถึงการแปลงคำในภาษา รวมถึงการทำสนธิในบาลี และการเปลี่ยนแปลงรูปแบบของนิคคหิต โดยเน้นความสำคัญของการรักษารูปแบบคำในบาลีให้คงเดิม และการทำสนธิที่แตกต่างจากสันสกฤตที่มีแบบบังคับเฉพาะ ทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจถึงวิธีการและรูปแบบในการเรียนรู้และใช้ภาษาบาลีอย่างถูกต้อง ทั้งนี้เนื้อหาเทียบเคียงระหว่างบาลีกับสันสกฤตเพื่อเข้าใจถึงโครงสร้างที่แตกต่างกัน

หัวข้อประเด็น

-บาลีไวยกรณ์
-นิคคหิต
-การทำสนธิ
-ความแตกต่างระหว่างบาลีและสันสกฤต
-การศึกษาในภาษาบาลี

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 25 เป็น ปุลลิงค์, ส-ลักขณา เป็น สลุลกฺขณา เป็นต้น, ถ้าสระอยู่ เบื้องปลาย แปลงนิคคหิตเป็น ม และ ท ดังนี้ ตอห์ เป็น ตมห พรูมิ พฺราหฺมณ์, เอต-อโวจ เป็น เอตทโวจ. [๒๓] นิคคหิตอาคมนั้นดังนี้ เมื่อสระก็ดี พยัญชนะก็ดี อยู่ เบื้องหลัง ลงนิคคหิตได้บ้าง Q. ว่า จกฺขุ-อุทปาทิ เป็น จกฺขุ อุทปาทิ, อว-สิโร เป็น อวํสิโร เป็นต้น. [๓๔] ปกตินิคคหิตนั้น ก็ไม่วิเศษอันใด ควรจะลบหรือแปลง หรือลงนิคคหิตอาคมได้ ไม่ทำอย่างนั้น ปกติไว้ตามรูปเดิม เหมือน คำว่า ธมฺม จเร ก็คงไว้ตามเดิม ไม่อาเทสนิคคหิตเป็น ณ ให้เป็น ธมฺมณุจเร เป็นต้น เท่านั้น วิธีทำสนธิในบาลีภาษานั้น ท่านไม่นิยมให้เป็นแบบเดียว ซึ่ง จะยักเยื้องเป็นอย่างอื่นไม่ได้ เหมือนวิธีสนธิในสันสกฤตภาษา ผ่อน ให้ตามอัธยาศัยของผู้ทำ จะน้อมไปให้ต้องตามสนธิกิริโยปกรณ์ อย่างหนึ่งอย่างใดที่ตนชอบใจ ถ้าไม่ผิดแล้ว ก็เป็นอันใช้ได้ ส่วน ในสันสกฤตนั้น มีวิธีข้อบังคับเป็นแบบเดียว ยักเยื้องเป็นอย่างอื่น ไปไม่ได้ จะเลือกเอาวิธีนั้น ซึ่งจะใช้ได้ในบาลีภาษามาเขียนไว้ที่นี้ เพื่อจะได้เป็นเครื่องประดับปัญญาของผู้ศึกษา แต่พอสมควร
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More