บาลีไวยกรณ์: พยัญชนะและการออกเสียง บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ หน้า 8
หน้าที่ 8 / 28

สรุปเนื้อหา

บทความนี้อธิบายถึงพยัญชนะในบาลี โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มต่าง ๆ รวมถึงการออกเสียงและนิยามของพยัญชนะแบบต่าง ๆ เช่น ก วรรค, จ วรรค และ ฎ วรรค นอกจากนี้ยังกล่าวถึงนิคคหิตและอนุสาร ซึ่งมีความสำคัญต่อการออกเสียงของพยัญชนะในบาลีและการเปรียบเทียบกับธรรมชาติของนกที่ต้องการที่ยึดเหนี่ยวเพื่อทำให้เข้าใจง่ายขึ้นอีกด้วย เนื้อหานี้เหมาะสำหรับผู้ที่สนใจบาลีและไวยกรณ์ที่เกี่ยวข้องให้เกิดความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎและการใช้งาน

หัวข้อประเด็น

-พยัญชนะในบาลี
-วรรคและอวรรค
-การออกเสียงอย่างถูกต้อง
-นิคคหิตและอนุสาร
-ความสำคัญของสระ

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ประโยคด - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 8 " ไอ ไอ๋ อา " ดังนี้ ต่อพยัญชนะเข้าอาศัย จึงจะออกเสียงปรากฏ ชัดว่า " ไปไหนมา " ดังนี้ พยัญชนะ ๓๓ ตัวนี้ จัดเป็น ๒ พวก วรรค ๑, อวรรค ๑, วรรคจัดเป็น ๕ ก ข ค ฆ ง ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ก วรรค จ ฉ ช ฌ ญ ๕ ตัวนี้ เรียกว่า จ วรรค ฎ จ ม ค น ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ฎ วรรค ต ถ ท ธ น ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ๓ วรรค ป ผ พ ภ ม ๕ ตัวนี้ เรียกว่า ป วรรค พยัญชนะ ๒๕ ตัวนี้เป็นพวก ๆ กันตามฐานกรณ์ที่เกิด ซึ่งจะว่าต่อไป ข้างหน้า จึงชื่อวรรค, พยัญชนะ 4 ตัวนี้ คือ ย ร ล ว ส ห ฬ เรียกว่า อวรรค เพราะไม่เป็นพวกเป็นหมู่กัน ตามฐานกรณ์ที่เกิด [๕] พยัญชนะ คือ เรียกว่านิคคหิต ตามสาสนโวหาร, เรียกว่า อนุสาร ตามคัมภีร์ศัพทศาสตร์, มีเนื้อความเป็นอันเดียว กัน, นิคคหิต แปลว่า กดสระ หรือ กรณ์ คือ อวัยวะที่ทำเสียง เวลา เมื่อจะว่าไม่ต้องอ้าปากเกินกว่าปรกติ เหมือนว่าทีมสระ อนุสาร แปลว่า ไปตามสระ คือพยัญชนะตัวนี้ ต้องไปตาม หลังสระคือ อ อิ อุ เสมอ เหมือนคำว่า อห์ เสตุ อกาส เป็นต้น, ถ้าไม่มีสระ ก็ไม่มีที่อาศัย ท่านเปรียบไว้ว่า นิคคหิตอาศัยสระนั้น เหมือนนกจับต้นไม้ ถ้าต้นไม้เป็นต้น ซึ่งเป็นที่จับไม่มีแล้ว นกก็จับ ไม่ได้ฉะนั้น สำเนียงสระที่นิคคหิตเข้าอาศัย จะแสดงไว้ข้างหน้า [๑๐]
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หน้าหนังสือทั้งหมด

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More