ข้อความต้นฉบับในหน้า
ประโยค - บาลีไวยกรณ์ สมัญญาภิธานและสนธิ - หน้าที่ 3
แปลว่าหนึ่งต่างหาก ส่วนเอกศัพท์นี้ สงเคราะห์เข้าในสังขยา และ
อาติกล THE เล่า ก็ไม่เหมือน ๓ ศัพท์แท้ เพราะมีคำอื่นที่ใช้เหมือน
ต ศัพท์ อนึ่ง เอก ศัพท์และ ต ศัพท์นั้น เป็นศัพท์นาม อาทิกลนี้
ต
ท่านมิได้สงเคราะห์เข้าในศัพท์นาม แต่นักปราชญ์ทั้งหลายชั้นหลังๆ
พิจารณาเห็นว่า อาทิกลนี้ ไม่ต่างอะไรกับคุณศัพท์ (คำพูดที่ ๒ ]
ไม่ควรจะยกเป็นแผนกหนึ่งต่างหาก จึงสงเคราะห์เข้าเสียในคุณศัพท์
คงเหลือวจนวิภาคแต่ 4 ส่วนเท่านั้น
៨
๑, PRONOUN คำพูดสำหรับใช้
แทนนามศัพท์ เพื่อจะได้ไม่ซึ่ง ๆ ซาก ๆ อันเป็นที่รำคาญโสต ตรงกัน
กับสัพพนาม ๑, VERB กิริยาศัพท์พร้อมวจนะ (NUMBER ),บุรุษ
(PERSON) ) วิภัตติ ( MOOD ) กาล ( TENSE ) จัดเป็นสกัมมธาตุ
กัตตุกิริยา ( ACTIVE VERB ) กัมมกิริยา ( PASSIVE VERB )
อกัมมธาตุ (NEUTER VEREB ) อัพยยกิริยา ( INFINITIVE )
กฤตกิริยา (PARTICIPLE) ๑, ADVERB คำพูดสำหรับเพิ่มเข้ากับ
กิริยาศัพท์และคุณศัพท์ บางทีกับแอดเว็บเอง เพื่อจะแสดงศัพท์เหล่านั้น
ว่าเป็นอย่างไร ดีหรือชั่ว เร็วหรือช้า เป็นต้น เหมือนคุณศัพท์
สำหรับเพิ่มเข้ากับนามศัพท์ฉะนั้น ตรงกับกิริยาวิเศษ และอัพยยศัพท์
และอุปสัค ๑, PREPOSITION เป็นวิภัตติสำหรับวางหน้านามศัพท์
หลังกิริยาศัพท์ด้วยกัน เพื่อจะแสดงให้ศัพท์นั้นมีเนื้อความ
เนื่องกัน แสดงอุทาหรณ์ในภาษาสยามเหมือนหนึ่งว่าศัพท์คือ เสื้อคน
มีความเป็น ๒ อย่าง ครั้นลง เปรโปสิชัน คือ ของ หน้านามศัพท์
คือ คน ก็ได้ความเป็นอันเดียวกันว่า " เสื้อของคน " จะเทียบ