การศึกษาธรรมกายและประวัติศาสตร์การปฏิบัติธรรม ยิ่งรู้จัก ยิ่งเคารพรักท่าน (ฉบับพิเศษ) หน้า 7
หน้าที่ 7 / 115

สรุปเนื้อหา

บทความนี้สำรวจแนวคิดเกี่ยวกับธรรมกายตามหลักพุทธศาสนา โดยมีการพูดถึงลักษณะของมหาบุรุษและความสำคัญของการปฏิบัติธรรมตามวิธีการโบราณ ระบุแหล่งที่มาของคำว่าธรรมกายในพระไตรปิฎกและเอกสารทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการศึกษาวิธีการทำสมาธิที่สืบทอดมาจากอดีต ซึ่งถือว่าเป็นหลักฐานสำคัญในการอธิบายธรรมกายในบริบทของการปฏิบัติธรรมในประวัติศาสตร์.

หัวข้อประเด็น

-ธรรมกาย
-พระมงคลเทพมุนี
-วิปัสสนา
-สมาธิ
-พุทธศาสนา

ข้อความต้นฉบับในหน้า

ว ఏ คล้ายพระพุทธรูป ประกอบด้วยลักษณะมหาบุรุษ ครบถ้วนทุกประการ เกตุเป็นรูปดอกบัวตูม ใสสว่างเป็น แก้วตลอดทั้งองค์ คำว่า “ธรรมกาย” นั้น พระมงคลเทพมุนี (สด จนฺทสโร) มิได้เป็นผู้บัญญัติขึ้นเอง ในพระไตรปิฎกก็มีคำนี้ และยังมีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า ในอดีตก็เคยมีการสอนวิธี ปฏิบัติธรรมให้เข้าถึงพระธรรมกายปรากฏอยู่ใน “หนังสือ พุทธรังษีธฤษดีญาณ ว่าด้วยสมถะและวิปัสสนากัมมัฏฐาน ๔ ยุค” หนังสือเล่มนี้ได้กล่าวถึงวิธีปฏิบัติสมถะและ วิปัสสนาแบบโบราณ ๔ ยุค คือ ยุคกรุงศรีสัตตนาคณหุตฯ (เวียงจันทร์) กรุงศรีอยุธยา กรุงธนบุรี และกรุง รัตนโกสินทร์ ซึ่งมีอยู่วิธีหนึ่งชื่อว่า “แบบขึ้นกัมมัฏฐาน ห้องพระพุทธคุณ พระธรรมคุณ พระสังฆคุณ” เป็นแบบที่ สืบเนื่องมาจากท่านทิศาปาโมกขาจารย์ ๕๖ องค์ แต่ครั้ง โบราณ ประชุมกันจารึกไว้เมื่อประมาณพุทธศักราช ๕๗๒ วิธีปฏิบัติในหนังสือเล่มนี้ กล่าวถึง “ธรรมกาย” ไว้ใน วิธีการทำสมาธิด้วย ถือเป็นหลักฐานสำคัญชิ้นหนึ่งที่ ยืนยันได้ว่า ครั้งหนึ่งเคยมีการกล่าวถึง “ธรรมกาย” ใน วิธีการทำสมาธิ www.kalyanamitra.org
แสดงความคิดเห็นเป็นคนแรก
Login เพื่อแสดงความคิดเห็น

หนังสือที่เกี่ยวข้อง

Load More